หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิทยาศาสตร์แบบมีส่วนร่วม

ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ยากที่จะหลีกเลี่ยงไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ปกติแล้ววิทยาศาสตร์แบ่งเป็นสองสาขาใหญ่คือ วิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางเคมี ชีวะ ฟิสิกส์ เป็นพื้นฐานให้กับศาสตร์สาขาอื่นๆ ในทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ในภาพใหญ่ที่สุดวิทยาศาสตร์ประยุครวมไปถึงเทคโนโลยี่ นวัตกรรมในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือเครื่องใช้

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อ้นเป็นผลผลิตของวิทยาศาสตร์ ที่นำไปประยุกต์ใช้ด้านต่างๆ นั้นได้ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมายบางอย่างเราใช้จนเคยชิน เช่นการดูโทรทัศน์ การขับขี่ยวดยาน การใช้เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ซึ่งเท่ากับเราเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างปฏิเสธไม่ได้ การมีส่วนร่วมเพื่อความเข้าใจในการทำงาน เข้าใจหลักการทำงาน ตลอดจนรู้วิธีใช้งานและเกิดทักษะ เป็นประสบการณ์ที่ช่วยให้การประมวล สังเคราะห์ วิเคราะห์ประเมิน ประมาณการในเรื่องที่เกี่ยวข้องและตัดสินใจได้ถูกต้องยิ่งขึ้น


วิทยาศาสตร์แบบมีส่วนร่วม นั้นทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม แต่จะมีส่วนร่วมในระดับใด เพื่อการใช้งานเพียงอย่างเดียวนั้นต้องการวิศวกรที่จะออกแบบเชิงวิศวกรรมให้ใช้งานได้ง่าย สดวกสบาย และมีประสิทธิภาพ แม้จะออกแบบให้ใช้งานได้ง่ายอย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีหลายอย่างยังต้องอาศัยทักษะในทางปฏิบัติ เช่นท่านจะไม่สามารถขับขี่ยวดยานได้อย่างปลอดภัยถ้าไม่ฝึกฝนให้เกิดทักษะและสามารถสอบผ่านได้ใบขับขี่ เครื่องใช้หลายอย่างในปัจจุบันทำหน้าที่ได้หลายอย่างในเครื่องเดียวกัน ผู้ใช้ต้องเลือกฟังก์ชั่นที่ต้องการใช้เอง บางครั้งแม้แต่การตั้งเวลานาฬิกา ที่ให้ตั้งให้แสดงเวลาและวัน เดือน ปี เวลานัดหมาย สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์และไม่อ่านวิธีการใช้ในคู่มือก็ยากที่จะเข้าใจในการตั้ง กำหนด การปรับแต่ง เปลี่ยนแปลง นอกจากว่ามีผู้ที่รู้แล้วอธิบายวิธีให้แล้วมาทดลองปฏิบัติเองดู

วิธีการหนึ่งที่เรายังคงใช้อยู่แม้จะเสียเวลามากนั่นก็คือ การลองผิดลองถูก จนกระทั่งพบวิธีที่ถูกต้อง วิธีนี้อาจจะเสียเวลามากกว่าจะเรียนรู้และมีประสบการณ์ โดยวิธีนี้นั้นมีข้อที่ควรระวังก็คือ เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถลองผิดลองถูกได้โดยไม่เป็นอันตรายหรือเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ที่ต้องซื้อหามาในราคาแพง การใช้วิธีลองผิดลองถูกหรือทดลองปรับเปลี่ยนไปเรื่อยจนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจขั้นตอน ตรรกะการใช้งาน และสำหรับผู้ที่สนใจระดับลึกลงไปเช่นขับรถยนต์เป็นแล้วต้องการที่จะรู้ว่าเครื่องยนต์ทำงานอย่างไร เช่นเข้าใจเรื่องการที่น้ำมันเชื้อเพลิงก่อให้เกิดพลังงานไปขับเคลื่อนให้รถยนต์เคลื่อนที่ และถ้าลงลึกในรายละเอียดไปอีกเช่นเมื่อน้ำมันเผาไหม้เกิดพลังงานผลักดันลูกสูบครบวงรอบ กี่รอบต่อวินาที ที่ความเร็วรอบสูงและต่ำมีผลต่อกำลังเครื่องยนต์อย่างไร เกี่ยวข้องกับเกียร์อย่างไร เป็นต้น เพราะแน่นอนว่ายิ่งเรามีความรู้มากและลึกเท่าใดเราก็จะสามารถควบคุมสถานะการณ์และตัดสินใจได้ดีมากเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น