ตามชื่อวันนี้ไม่ใช่การรณรงค์เพื่อลดภาวะโลกร้อยของอัลกอ แต่เป็นรายงานการพิจารณาศึกษาการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ในนามคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สภานิติบัญญัติชุดที่แล้ว ได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การดำเนินการพัฒนาวิทยาศาตร์ของประเทศไทยว่ายังคงวนเวียนอยู่ในกรอบวิธีการเก่าๆ ที่เรียกหาแต่งบประมาณ กำลังคนบุคลากร และทรัพยากรต่างๆ โดยสรุปสาเหตุสำคัญที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในการแก้ปัญหาความตกต่ำของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเพราะไม่รู้จริงในสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นผิดพลาด
การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้จะมีแนวคิด และเครื่องมือการบริหารจัดการใหม่ๆ ตามกระแสโลก แต่ในทางปฏิบัติการบริหารที่เป็นจริง การบริหารงานและการติดตามประเมินผลในภาครัฐ ยังวนเวียนอยู่กับการดำเนินงานแบบเก่าๆ ที่อาศัยระบบพวกพ้อง และการแสวงหาผลประโยชน์ในกลุ่มและหมู่คณะ ที่แฝงมาในรูปแบบการบริหารงานสมัยใหม่ จึงไม่มีการดำเนินการให้เกิดความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ได้ผลงานที่เป็นรูปธรรม และยังขาดคุณธรรมและจริยธรรม ที่แท้จริง
ตัวอย่างหนึ่งอันแสดงให้เห็นถึงความตกต่ำในการใช้งบประมาณ คือความสามารถในการผลิตผลงานที่มีผลเป็นสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร ต่องบประมาณการลงทุน เทียบกับผลงานภาคเอกชน และต่างขาติ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐรวมทั้งมหาวิทยาลัยทั้งหลายนั้น ในปี 2549 หน่วยงานภาครัฐมีอนุสิทธิบัตร 429 เรื่อง สิทธิบัตร 332 เรื่อง ขณะที่เอกชนและประชาชนผลิตอนุสิทธิบัตร 1515 เรื่อง สิทธิบัติ 3231 เรื่อง จะเห็นว่าภาคประชาชนและเอกชนจดสิทธิบัตรมากกว่าภาครัฐเกือบ 7 เท่าตัว สำหรับต่างชาติที่มาจดทะเบียนเป็นผลงานที่เป็นสิทธิบัตรเป็นส่วนใหญ่ มีจำนวนมากกว่าทั้งภาครัฐและเอกชนและประชาชน
ถ้าดูประสิทธิภาพในการวิจัยโดยดูจากงบประมาณที่ใช้นั้น ในปี 2549 หน่วยงานภาครัฐใช้งบประมาณ 7898 ล้านบาทขณะที่เอกชนและประชาชนใช้งบประมาณเพียง 5927ล้านบาท จะเห็นว่าผลงานด้านนี้ของหน่วยงานส่วนภาครัฐนั้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไปมาก นั้นก็คือมหาวิทยาลัยก็เป็นส่วนหนึ่งในหน่วยงานภาพรัฐ ที่ทางสกอ.เองก็เร่งทุกวิธีทางเพื่อให้ในภาคส่วนมหาวิทยาลัยมีผลงานที่มีคุณภาพดังที่เราได้เห็นมาตรการหลายๆ อย่างในตัวชี้วัด ใด้ด้านการตีพิมพ์ การนำเสนอ และการจดลิขสิทธิ์ และแม้แต่การตั้งหน่วยบ่มเพราะต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น