ตัวชีวัดอย่างหนึ่งที่บ่งชี้ถึงมาตรฐานการศึกษาว่าอยู่ในระดับใด คือการอ่านหนังสือของพลเมืองของแต่ละประเทศ เท่าที่ทราบ ประเทศที่อ่านหนังสือมากก็จะเห็นได้ชัดถึงความเจริญ หรือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว สำหรับประเทศไทยนั้นมีรายงานการวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังอ่านหนังสือน้อยกว่าประเทศที่มีมาตรฐานการศึกษาสูงกว่า
แม้ว่าประเทศไทยจะรายงานว่ามีผู้รู้หนังสือมากขึ้นก็ตาม แต่การรู้หนังสือแบบไม่สมบูรณ์และไม่มีประสิทธิภาพ เท่าที่ทราบนักเรียนที่จบระดับประถมไปเข้าศึกษาต่อโรงเรียนมัธยม มีหลายโรงเรียนที่จะต้องจัดให้มีการเรียนการสอนเสริมในเรื่องอ่านออกเขียนได้อยู่อีก เพราะไม่สามารถอ่านหนังสือได้คล่องเท่าที่ควรจะเป็น เป็นอุปสรรค์ในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น แม้ว่าจะจบระดับประถมแล้วก็ตาม พบว่ามีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น อันแสดงให้เห็นว่าการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเรามีปัญหา โดยระบบไม่ได้ใส่ใจผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แท้จริง แต่ก็ไม่มีการซ้ำชั้นสอบผ่านไปตลอด หากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ได้เอาใจใส่ด้วยแล้วไม่ได้ติดตามว่า ลูกๆ ได้เรียนรู้ก้าวหน้าไปถึงไหนแล้วละก็ ก็จะเกิดเป็นวงจรเช่นนี้ไม่สิ้นสุด ซึ้งมองอีกแง่หนึ่งว่าคุณภาพของประชากรเราตกต่ำ หรืออยู่ในภาวะที่ยากจนและขาดแคลนปัญญา ทำให้ไม่มีเวลาที่มาเอาใจใส่ในเรื่องนี้
มีรายงานข้อมูลตัวเลขที่ได้จากการวิจัยระหว่างประเทศ เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้วถึงจำนวนหนังสือต่อประชากร 1000 คนเพื่อยืนยัน ให้เห็นว่ายังมีการอ่านหนังสือน้อยที่เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อบ้านเช่นฮ่องกง มาเลเซ๊ย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ซึ่งก็แน่นอนว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีจำนวนหนังสือต่อประชากร 1000 คนต่ำที่สุดดังนี้
ฮ่องกง สิงค์โปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไทย
153.5 118 37 27.5 11.3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น