ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์จะแข่งขันกันที่ความรู้ ใครมีความรู้มากย่อมได้เปรียบในการแข่งขัน การจะได้ความรู้มาก็จำเป็นต้องลงทุนลงแรง ผ่านทางกระบวนการวิจัยและพัฒนา ที่ผ่านมาเราเป็นประเทศนักการค้าคือขายสินค้าหรือผลิตสินค้าที่คนอื่นคิดให้ คลายๆ กับเฟรนไชน์ นอกจากจะใช้ทรัพยากรของเราแล้ว คนได้รับค่าจ้างแรงงานราคาถูก ซึ่งใช้เงินทุนลงทุนเพื่อจ้างงานให้ได้มากเพื่อให้เกิดความมั่งคั่งที่กระจุกตัวและกลับไปเป็นทุนอีก ตามกระบวนการนี้ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรจำนวนมากและทำให้เกิดมลภาวะที่ยากต่อการควบคุม
แต่ในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้นั้น จะต้องมีภูมิปัญญาที่จะก่อให้เกิดทักษะความรู้ความสามารถ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการจ้างงานและทำให้เกิดความมั่งคั่งกระจุกตัวน้อยลง ซึ่งต้องอาศัยนวตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน ที่จะก่อให้เกิดผลผลิตและเน้นการสร้างขีดความสามารถด้านต่างๆ จากนี้จะเห็นว่าเราไม่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้เพราะนวตกรรมยังมีน้อย หรือกล่าวได้ว่ายังมีภูมิปัญญาไม่มากพอที่จะนำไปสร้างความมั่งคั่งได้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นก็คือคุณภาพชีวิตของคนในประเทศจะตกต่ำลงไป ทางออกที่จะเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ก็ โดยการจัดการศึกษาที่เน้นกระบวนการคิด เน้นการสร้างสรรค์นวตกรรม และการรวมพลังกันของสถาบันการศึกษา ในการกำหนดยุทธศาสตร์ และร่วมมือกันอย่างจริงจังเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น