รายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับประชากรของโลกและของประเทศไทยมีส่วนที่น่าสนใจ ที่จะทำให้เราอนุมานถึงแนวโน้ม และผลกระทบต่อเราอย่างไรในอนาคต ที่อาจมีส่วนทำให้พิจารณาเตรียมการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้
ขณะนี้โลกมีประชากรในปี 2550 จำนวน 6605 ล้านคน อยู่ในเอเซีย 4004.8 หรือ 60.6 % ประเทศจีนมีพลเมืองมากที่สุด 1321 ล้านคน รองลงมาคืออินเดีย 1129 ล้านคน ส่วนประเทศไทยมีประชากร 65.1 ล้านคน เป็นลำดับที่ 19 ของโลก จำนวนคนไทยมีอายุยืนเพิ่มขึ้น 5.97 ล้านคนเพิ่มเป็น 7.02 ล้านคนในปี 2550 และมีอัตราการเพิ่มประชากรในสัดส่วนที่ลดลง
เมื่อดูแนวโน้มในอีก 30 ปีข้างหน้า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8000 ล้านคน ประเทศอินเดียจะเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก 1641.5 ล้านคน ประเทศจีนจะมาอันดับสอง 1459 ล้านคน สำหรับประเทศไทยจะมีประชากรเป็น 71.2 ล้านคนเป็นอัตราเดียวกับประเทศทางยุโรป สิ่งที่น่านำมาพิจารณามากที่สุดสำหรับโครงสร้างประชากรไทยก็คือ จะมีคนสูงวัยและวัยทำงานจำนวนมาก ส่วนเด็กจะมีจำนวนน้อยราว 17.2 เปอร์เซนต์ เป็นไปได้ว่าคนหนุ่มสาวแต่งานน้อยลง มีคนแก่มากขึ้นเพราะจำนวนคนอายุยืนมากขึ้น ซึ่งเป็นผลให้จำนวนเด็กที่จะเกิดขึ้นน้อยตามมา
ประเทศอินเดียก็กำลังเป็นอีกประเทศหนึ่งที่พัฒนาเศรษฐกิจไปอย่างรวดเร็ว และมีมวลรวมสูงเช่นเดียวกับประเทศจีน เราจึงควรที่จะหันมาให้ความสำคัญกับประเทศอินเดีย มีการเรียนการสอนภาษาอินเดียเพิ่มขึ้นมาอีกภาษาหนึ่ง รองรับธุรกิจการค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับแนวโน้มที่มีคนสูงวัยมากขึ้นก็เป็นไปได้ที่จะต้องเตรียมการจัดการศึกษาที่จะดึงเอาความรู้ประสบการณ์ที่คนสูงวัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนการให้การศึกษาเพื่อช่วยเหลือ ผู้สูงวัยให้อยู่ในสังคมสมัยใหม่ และพึ่งพาตนเองให้ได้มากขึ้น สำหรับการที่มีเด็กน้อยลง แน่นอนว่าจำนวนนักเรียนนักศึกษาจะต้องลดจำนวนลงในหลายที่ และไปเพิ่มในบางที่ ซึ่งแนวโน้มการกระจุกตัวของผลเมืองจะไปอยู่ในเมืองใหญ่
สถาบันอุดมศึกษาจำต้องมีการปรับตัวตามแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างรีบเร่ง เพื่อให้เป็นแหล่งที่ไม่เฉพาะการศึกษาในระบบเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องให้การศึกษาคนวัยทำงานและคนสูงอายุ ตลอดจนเป็นแหล่งการให้บริการทางวิชาการ และอาชีพอย่างแท้จริง ซึ่งต้องคำนึงถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเป็นสำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น