หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ควันหลงรัฐธรรมนูญปี 50

หลังจากรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ที่ส่งผลกระทบทำให้่รํฐมนตรีถึงขั้นลาออก และยังมีผลกระทบอื่นๆในอนาคตที่เกี่ยวกับพวกเรา เช่นในมาตรา 49 ที่บอกว่าในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ซึ่งได้ตัดคำว่าการศึกษามูลฐานออกไปจึงตีความกันว่า สามารถเรียนฟรีทุกระดับ ว่าจะฟรี12 ปีแรกหรือ 12 ปีหลัง ซึ่งอุดมศึกษาอาจได้รับผลกระทบด้านงบประมาณก็คงต้องรอกฏหมายลูกว่าจะออกมาอย่างไร


หลายคนคงได้ยินคำว่าตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งผมเห็นว่าได้ก้าวเข้ามาร่วมในการแก้ปัญหาของชาติ ในรํฐธรรมนูญปี 40 นั้นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเคยเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งต่างๆ โดยมาจากศาล 3คน จากอธิการบดี 4 นักการเมื่องอีก 4 คน แต่่มาในรัฐธรรมนูญปี 50 จากศาล 3 คน และนักการเมือง 2 คน ตัดอธิการบดีออกไป จะเห็นว่าตุลาการมีอำนาจมาก ซึ่งเข้าใจว่าจากศาลน่าจะให้ความเป็นธรรมมากกว่าและได้รับความเชื่อถือมากกว่า

ควันหลงอีกประเด็นคือในมาตรา 80 ข้อ 3 ที่จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฏหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ ในประเด็นนี้เหมือนกับเป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 เพราะเราเคยมีพรบ.การศึกษาปี 2542 แต่ไม่สามารถปฏิรูปการศึกษาได้จริง ปฏิรูปได้เฉพาะโครงสร้างที่ดูเหมือนยังมีปัญหา และแทบไม่ได้ปฏิรูปการเรียนการสอน ยังทำน้อยมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น