หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเรียนรู้เพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

การเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างอย่างลึกซึ้งได้นั้น ก็มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ที่เพิ่มความเข้าใจ(increase understanding = deep understanding) ซึ่งก็คือความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้มโนทัศน์และระบบของมโนทัศน์ ครูควรจะได้จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำมโนทัศน์ไปใช้ในทางปฏิบัติในสถานะการณ์ของชีวิตจริง หรืออยู่ในรูปของการแก้ปัญหา


ต้องให้ผู้เรียนดำเนินกระบวนการ self-regulation ให้สำเร็จลุล่วงไป ส่วนใหญ่มาจากแบบจำลองการปรับความสมดุลของเปียอาเจ (Piaget’s equilibration model) ตรงกับของ Festinger (1957) ที่ใช้คำว่า dissonance แทนคำ equilibrium นั่นก็คือการให้ผู้เรียนได้ปรับความสมดุลย์ให้เป็นปกติมีความพอใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่หมดข้อข้องใจ และพร้อมที่จะยอมรับเปลี่ยนแปลงมาเป็นมโนทัศน์ที่ถูกต้อง (conceptual change) คือสิ่งที่เปียอาเจย์เรียกว่า accommodations หรือ restructuring

การใช้วัฏจักรการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องสำรวจให้เกิดข้อข้องใจ มีความขัดแย้งกับความรู้เดิม ทำให้อยากแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยการรับความรู้ใหม่ จึงต้องนำความรู้ไปใช้ในสถานะการณ์อื่น คือสามารถนำไปประยุกต์ได้กับชีวิตจริง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งสุดท้ายผู้เรียนต้องขจัดมโนทัศน์ที่ไม่ถูกต้องที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ และจะต้องมีกระบวนการการคิดเกี่ยวกับสื่อการเรียนและเนื้อหาที่จะเรียนรู้ในแนวทางที่เชื่อมโยงสื่อการเรียนรู้กับสารสนเทศ และความคิดหรือความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วในใจของผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น