วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ที่มาของพลังงานนิวเคลียร์
ปัจจุบันเราทราบองค์ประกอบของสารประกอบด้วยอะตอมของธาตุชนิดต่างๆ และทราบว่าแต่ละอะตอมนั้นประกอบด้วยอิเลคตรอนอยู่โดยรอบแกนกลางที่มีมวลส่วนใหญ่ของอะตอม เรียกว่านิวเคลียส ซึ่งนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน การที่โปรตอนซึ่งปกติผลักกันมารวมอยู่ด้วยกันที่นิวเคลียสได้นั้นน่าจะมีแรงมหาศาลมายึดเหนี่ยวที่นิวเคลียสหรือมีพลังงานในการยึดเหนี่ยวจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพลังงานที่อยู่ในนิวเคลียสของสารจึงเรียกว่าพลังงานนิวเคลียร์
แต่วิธีการที่จะนำพลังงานนี้มาใช้ได้นั้นเป็นผลงานการคิดค้นทางทฤษฎีที่มีซื่อเสียงของไอน์สไตย์ที่เรารู้จักกันทั่วไปคือทฤษฎีสัมพันธ์ภาพ จากทฤษฎีนี้สามารถสรุปได้ว่าสสารและพลังงานคือสิ่งเดียวกัน สามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ ตามสูตร พลังงานเท่ากับมวลคูณด้วยความเร็วแสงยกกำลังสอง (E = mc^2) จากสูตรนี้การเปลี่ยนมวลเพียงเล็กน้อยจะได้พลังงานมหาศาลออกมา ดังนั้นการทำให้สสาร(บางชนิดเช่นยูเรเนียมที่บริสุทธิ์)เปลี่ยนเป็นพลังงานทันทีทันใดโดยไม่ควบคุมก็คือระเบิดปรมาณูหรือระเบิดนิวเคลียร์ แต่ถ้าควบคุมการปลดปล่อยพลังงานได้ก็นำมาใช้ประโยชน์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือ เครื่องจักรกลที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ต่างๆ เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น