หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ย้อนรอยอดีตเมืองนคร :ท่าวัง

เนื่องจากตัวเมืองนครปัจจุบันเมื่อครั้งอดีตคงจะมีน้ำทะเลรุกล้ำเข้ามามากกว่านี้ ดังจะเห็นว่ามีคำว่าท่าที่ตำบลท่าวัง ท่าแพ เป็นตัวบ่งชี้ถึงท่าน้ำ คำว่าท่าแพน่าจะบงบอกถึงว่ามีแพ แต่ท่าวังน่าจะบ่งบอกถึงท่าที่มีวังอยู่ สอดคล้องกับวัดวังที่เป็นที่ตั้งของตำหนักพระสนมของพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเรื่องนี้ต้องสืบสารราวเรื่องไปถึงสองร้อยปีทีเดียว


หากจะดูว่านานแต่ไหนสมมุติว่าบรรพบุรุสของเราตั้งแต่พ่อขึ้นไปมีลูกตอนอายุ 30 ปี ถ้าขณะนี้เราอายุ 50 ปีแล้ว พ่อ, ปู่, ทวด, ปู่ทวด, และพ่อของปู่ทวด จะมีอายุตามลำดับเป็น 80, 110, 140, 170, 200 ขณะนี้ถ้ายังมีชีวิตอยู่ นับเป็นเรื่องยากเหมือนกันถ้าไม่มีบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไว้ แต่ก็โชคดีที่เรายังพอหาหลักฐานจากบันทึกการเดินทางของเจมส์ โลว์ที่เดินทางมายังเมืองนคร

จากบันทึกการเดินทางของเจมส์โลว์ โดยมีต้นฉบับอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ตามบันทึกได้กล่าวถึงการต้อนรับคณะที่เดินทางมาของชาวนครประเพณีชักพระ และกล่าวถึงการเล่นโขน ละคร

ในบันทึกยังมีแผนที่โบราณของเมืองนครศรีธรรมราช แผนที่อยุธยาและต้นรัตนโกสินหรือเมื่อ 300 กว่าปีมาแล้ว ตามแผนที่ของเจมส์โลว์ พ.ศ. 2367 เกือบ 200 ปี แสดงบ้านเรือนต่างๆ ของเมืองนคร เช่นตลาดจีนอันเป็นตำบลท่าวังในปัจจุบัน โบราณวัตถุ เกี่ยวข้องกับประวัติการแต่งกายของตัวละคร ปืนใหญ่ สมอเรือที่พบที่ปากพญา และท่าวังเคยเป็นสถานีการค้าของฮอลันดาสมัยอยุธยา หรือที่เรียกว่าตลาดจีน

สมัยที่ผู้เขียนยังเป็นเด็กอยู่นั้นมีอนุสรณ์สถานที่เป็นเหมือนใจกลางศูนย์การค้าของเมือง เป็นหอสูงคล้ายเก๋งจีน เป็นหอสูงซ้อนกันหลายขั้นมีบันไดเวียนขึ้นไปได้ น่าจะอยู่บริเวณหน้าสถานีรถไฟปัจจุบัน ถ้าไม่ทำลายเสียก็จะเป็นสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า เป็นโบราณสถานได้ เช่นเดียวกับที่บ้านโบราณของตระกูล ของอาจารย์เกรียงศักย์ ตรีสัตยพันธ์ อดีตอาจารย์เมื่อครั้งเป็นวิทยาลัยครู ที่เคยเป็นโรงเรียนเก่าชื่อนครวิทยา ที่ประตูชัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น