จากการที่เราไปดูงานต่างประเทศเช่นประเทศออสเตรเลีย ได้พบข้อมูลที่น่าตะลึงอย่างหนึ่งสำหรับประเทศไทยก็คือว่า คณะวิศวะของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ทำวิจัยมากกว่าทุกมหาวิทยาลัยของไทยรวมกัน (ข้อมูลเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว) ทำให้ออสเตรเลียมีสิ่งประดิษฐ์คิดค้นมาก เมื่อเทียบจำนวนพลเมืองกันแล้วทวีปออสเตรเลียทั้งทวีปนั้นมีประชากรน้อยกว่าประเทศไทย แต่มีพื้นที่มากกว่าประเทศไทยหลายเท่า และมีผลงานวิจัยจากนักศึกษาต่างชาติจำนวนมากที่มาศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย เช่นจาก ใต้หวัน สิงคโปร์ มาเลย์ เป็นต้น
ข้อมูลอีกอย่างหนึ่งได้แก่ข้อมูลจำนวนคนที่ทำวิจัยและพัฒนา (R&D) ต่อประชากร 10000 คน ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้วัดความเจริญของประเทศได้ส่วนหนึ่งดังนี้
ประเทศฟินแลนด์ 100 คนต่อประชากร 10000 คน อเมริกา 50-60 คน/10000 คน ญี่ปุ่น 70คน/10000 คน สิงคโปร์ 30-40คน/10000 คน ส่วนประเทศไทยมีนักวิจัย 3.3 คน/10000 คน ข้อมูลดังกล่าวนี้เมื่อ 3-4 ปีมาแล้ว เชื่อว่าขณะนี้ประเทศไทยคงจะตื่นตัวเรื่องนี้ขึ้นมาบ้างแล้ว คงจะทำให้ดัชนี้นี้ดีขึ้นบ้าง
สำหรับเหตุผลหลักที่มหาวิทยาลัยต้องทำวิจัยจากความเชื่อที่ว่า ยิ่งเรียนรู้มาก และลึกก็จะยิ่งควบคุมการเปลี่ยนแปลงได้ดี การจะทำวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นไม่เฉพาะเรื่องที่ทำวิจัยเท่านั้น แต่ต้องเรียนรู้งานวิจัยที่ผ่านมาแล้วในเรื่องที่กำลังจะทำวิจัยด้วย จึงทำให้มีการเรียนรู้มาก และลึก สามารถจะควบคุมสถานะการในเรื่องทีเกี่ยวข้องได้ดีกว่า เพราะในเรื่องที่ทำวิจัยอาจมีข้อค้นพบที่ไม่มีใครทราบมาก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น