ทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้และการเรียนรู้ อะไรที่รู้บ้างและการมเป็นผู้รู้ (come to know) ได้อย่างไร ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของคนนั้นเป็นการสร้างขึ้น นั่นคือผู้เรียนสร้างความคิดใหม่ หรือมโนทัศน์ใหม่ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความรู้ที่มีอยู่เดิม อันได้แก่ประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่แล้ว มีอิทธิพลต่อการสร้างความรู้ หรือการปรับเปลี่ยนความรู้ (Fosnot,1966)
ตามแนวการสร้างความรู้ได้เสนอแนะเราไว้ว่า มนุษย์มีรูปแบบการคิดทางกายภาพประจำตัว ซึ่งนำมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงการเรียนรู้และการพัฒนาการ
แนวคิดการสร้างความรู้ปฏิเสธแนวคิดที่จัดการเรียนการสอนเหมือนกับการสร้างเบ้าประทับ ที่สแตมป์(stamp)จากครูไปยังนักเรียน ที่ซึ่งความรู้ส่งผ่านหรือถ่ายทอดไปให้เหมือนต้นฉบับ ทัศนะการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้มองผูเรียนเป็นผู้เรียนรู้ที่อยากเรียนรู้ มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ โดยการเชื่อมโยง ปะติดปะต่อ การเรียนรู้ปัจจุบันกับการเรียนรู้ที่มีการสร้างขึ้นมาก่อน ในกระบวนการมีการเปรียบเทียบหาความสอดคล้อง ความไม่ลงรอย และมีการขยายขอบเขตความรู้ออกไป จากการเปรียบเทียบเป็นการตรวจสอบตีความของแต่ละบุคคลจากประสบการณ์ ที่ค้านหรือเห็นแย้งกับการเป็นผู้รับหรือถูกป้อนให้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น