ในกลุ่มสร้างความรู้นิยม (constructivism) มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการเรียนรู้ และเน้นให้ความสำคัญที่ให้เข้าใจถึงความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่ ณ ปัจจุบัน เพื่อที่จะให้สอนได้อย่างประสบผลสำเร็จ จะมีความก้าวหน้าขณะที่เน้นการสนทนาพูดคุย การโต้ตอบ โต้แย้ง และการปรับเปลี่ยนความคิดกันระหว่างครูและนักเรียนในการกำหนดทางสังคม อย่างมีความสำคัญที่การสร้างความรู้นิยมมุ่งเน้นความเข้าใจเป็นเป้าหมายของการสอน การสร้างความรู้นิยมเริ่มจากการแยกตัวเองออกจาก positivism และ empiricism
การสร้างความรู้นิยมเป็นมากกว่าทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่มีองค์ประกอบทางปรัชญาอย่างมีนัยสำคัญ เป็นทัศนะเกี่ยวกับว่าควรจะดำเนินการสอนไปอย่างไร แล้วจะจัดการกับนักเรียนอย่างไร และจัดโครงสร้างชั้นเรียนกันอย่างไร หลักสูตรควรพัฒนาและนำไปใช้อย่างไร เป็นการกำหนดอย่างชัดแจ้ง และในตำแหน่งที่มีความเป็นเลิศดังในปรัชญาวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาของการคิดและรู้สึก และปรัชญาของทางการศึกษา
แนวทางสร้างความรู้นิยมเช่นนี้ มองความรู้เป็นการสร้างขึ้นของแต่ละบุคคลและของสังคม มากกว่าจะเป็นการเปิดเผยออกมา ทฤษฎีเป็นเพียงชั่วคราวไม่ใช่สมบูรณ์ วิทยาศาสตร์เป็นเหมือนความรู้ เป็นการสร้างขึ้นเชิงปัญญา และอะไรที่อ้างถึงเป็นเหมือนกับกฏของธรรมชาติ นั้นก็เป็นเพียงผลของกิจกรรมของมนุษย์
การสอนแบบสร้างความรู้เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนต้องมีความกระตือรือร้น ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมการสะท้อนผลการเรียนรู้ ทำการอนุมาณ และมีประสบการณ์การคิดที่ขัดแย้งกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น