จากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ได้ข้อสรุปจากที่ประชุมอย่างหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งคิดได้ว่าความมั่นคงด้านอาหารจะนำไปสู่ความมั่นคงด้านอื่นๆ ซึ่งโดยความมั่นคงด้านอาหารเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามเราทราบว่ามีองค์ประกอบหลายอย่างที่มีส่วนทำให้ความมั่นคงทางอาหารต้องลดน้อยถอยลงไป เช่นว่ามีโรคที่มีอาหารเป็นสื่อเป็นต้น หรือไม่ก็ความอุดมสมบูรณ์ความหลากหลายของอาหารลดน้อยลงไป
มีเงื่อนไขสถานะการหลายอย่างที่มีผลต่อความมั่นคงทางอาหาร เช่นพื้นที่ทางด้านการเกษตรที่ใช้เลี้ยงสัตว์ปลูกพืชอาหารลดน้อยลงไปขณะเดียวกันพืชให้พลังงานกลับปลูกเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างย่ิงประเทศที่ไม่มีทรัพยากรน้ำมันในธรรมชาติ ที่เห็นได้ชัดถึงผลกระทบด้านนี้ ก็คือปริมาณพืชสัตว์ที่เป็นอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดที่เคยมีความหลากหลายก็กลับลดชนิดและปริมาณลง เป็นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่มีผลต่อความหลากหลายของอาหาร การเข้าถึงอาหารของชุมชน มีการพึ่งพาตัวเอง พึ่งพาตามธรรมชาติน้อยลงโดยเฉพาะชุมชนเมืองที่ใช้ชีวิตเร่งรีบและฝากชีวิตกับร้านอาหารสะดวกซื้อและฟาสฟูดแบบต่างๆ ทำให้อาหารยากต่อการควบคุม อาจมีภัยคุกคามที่ทำให้การควบคุมด้านอาหารทำได้ยาก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็มีผลกระทบต่อผลผลิต การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นผลปฏิกิริ ย าลูกโซ่ของภาวะโลกร้อน มีส่วนที่ทำให้พืชสัตว์ประจำถิ่นไม่สามารถเติบโตได้ตามปกติ เมื่อเทียบกับสัตว์พืชที่อุบัติเข้ามาใหม่ที่อาจไม่คุ้นเคยแต่เจริญเติบโตได้ดีกว่า ในทางที่ใกล้เคียงกันสำหรับการเปิดเสรีทางการค้าที่ผลไม้และผลิตผลราคาถูกทางเกษตรทะลักเข้ามา ทำให้มีผลกระทบต่อพืชผลพื้นเมืองที่ทำให้ราคาตกต่ำ เจ้าของสวน พืนที่ทางเกษตรจะไม่เอาใจปล่อยให้ทรุดโทรม และไม่ปลูกพืชเพิ่มขึ้น บ้างก็เปลี่ยนไปปลูกพืชพลังงานทดแทนซึ่งก็ยิ่งทำให้ความมั่นคงทางด้านอาหารลดลง
การที่เราทราบปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร ก็ทำให้เราสามารถหาแนวทางที่จะป้องกันหรือรักษาเยียวยาให้ความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาได้บ้างแต่มันจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ตราบเท่าที่มนุษย์ยังไม่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องสำคัญเช่นภาวะโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์เอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น