หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

การทำให้เว็บไซต์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้

ในบล็อกที่แล้วได้เล่าถึงการใช้เทมเพลทในการ สร้างเว็บไซต์ให้มีเว็บบล็อกอยู่ภายใน ในมีการนำเสนอแบบบล็อกอยู่ในหน้าเว็บใดเว็บหนึ่ง แต่เมื่อต้องการให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับเจ้าของเว็บไซต์หรือตามระบบงานใดงานหนึ่ง เช่นว่าให้ผู้ใช้มาสมัครเพื่อขอใช้อะไรบางอย่าง หรือให้ศิษย์เก่ากรอกข้อมูลที่ต้องการบางอย่าง หรือให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลบางอย่าง เช่นข้อเสนอแนะ หรือถามคำถามไว้ แล้ว ผู้ดูแลเว็บไซต์ก็มาตรวจดู ข้อมูลที่ส่งมาจากผู้ใช้ ที่ผู้ดูแลเว็บสามารถเปิดเข้าไปดูแล้วตอบโต้ได้


เมื่อก่อนการจะให้ฝากข้อความอะไรไว้ และให้ และผู้ดูแลสามารถที่จะมาดูแล้วตอบกลับได้สะดวก ถ้าหากจำต้องไปเขียนโปรแกรมเองในลักษณะนี้ก็คงทำไม่ได้เลยสำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนการเขียนโปรแกรมมา หรือแม้แต่ผู้ที่เขียนโปรแกรมเองได้ก็ตาม ก็ใช่ว่าจะสร้างเว็บให้ได้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้เสมอไป จากการทดลองใช้เทมเพลท บางตัวสามารถดัดแปลงมาจัดเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ได้สะดวก

การใช้เทมเพลทเหมือนกับมีตัวอย่างอยู่ในแบบฟอร์มแล้ว เพียงเปลี่ยนข้อมูลเป็นเป็นของผู้ใช้เสีย แล้วจัดรูปแบบหน้าเว็บเพจซ์ให้น่าใช้ขึ้นก็จะได้เว็บไซต์สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ได้ การเขียนเว็บเพจซ์ลักษณะดังกล่าวนี้ เป็นลักษณะคล้ายกับการย้อนรอยเชิงวิศวกรรมบางส่วน ที่จะให้ทำงานได้เหมือนกับเทมเพลท ซึ่งทำให้ผู้ที่ไม่ค่อยมีพื้นความรู้ทางการเขียนโปรแกรมก็สามารถที่จะสร้างเว็บเพจซ์ที่ทำงานได้เหมือนกับมืออาชีพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น