หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

จุดร่วมและจุดต่างของความรู้ชัดแจ้งและที่ฝังลึกในตัวคน

ไม่ว่าจะเป็นความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) หรือความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ต่างก็ต้องนำไปใช้หรือมีการปรับปรุงก่อนนำมาใช้ให้เหมาะตามบริบทและเวลาแล้วก็ตาม ก็จะต้องมีการเรียนรู้ยกระดับขึ้นอีกสำหรับความรู้ที่ชัดแจ้ง ขั้นต่อไปเป็นการรวมรวมจัดเก็บไว้ให้เรียกใช้ง่ายและสะดวก สามารถเข้าถึงและตรวจสอบให้ชัดแจ้ง


แต่สำหรับความรู้ที่ฝังลึก นั้นหลังจากที่ปรับใช้แล้ว หากมีใจที่จะแบ่งปัน มีการแนะนำให้ผู้อื่น ซึ่งผู้มีความรู้อยู่ในตัวมักจะมีความชำนาญจนมีทักษะ แม้กระนั้นก็ตามเมื่อนำไปแบ่งปันให้ผู้อื่นก็จะพบปัญหาที่ให้ต้องปรับปรุงให้เหมาะสมตามสถานะการณ์อีก จึงเป็นการเรียนรู้ร่วมกันกับผู้อื่นด้วย แล้วความรู้นั้นก็อาจมีการยกระดับใหม่หรือสร้างขึ้นมาใหม่เพิ่มเติมแล้วจึงปรับใช้อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นจะเห็นว่าไม่ว่าเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้ทีฝังลึกในตัวคนต่างก็ต้องนำออกมาใช้ เป็นจุดร่วมกัน และไม่ว่าเป็นความรู้แบบใดยิ่งใช้มากก็ยิ่งก่อให้เกิดการพัฒนาไป ปรับปรุงความรู้ดีขึ้นได้เรื่อยๆ

ตามแนวคิดของ ดร.ประพันธ์ผาสุกยืด นั้นการพัฒนาความรู้ที่ชัดแจ้งนั้นต้องมีเครื่องมือและเทคโนโลยี (Tool & Technology) หรือ 2Tที่จะใช้ในการจัดเก็บ สืบค้น และเรียกใช้ได้เร็วและสะดวก รวมทั้งใช้ในการตรวจสอบความถูกต้อง ว่ามีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับใด ส่วนความรู้ที่ฝังลึกในตัวคนนั้นต้องอาศัย กระบวนการ (process) และคน (People) ในกระบวนงานจำเป็นต้องมีรายละเอียดของงานและขั้นตอนงาน ในการนำความรู้ไปใช้ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีปฏิสัมพันธุ์กันที่เรียกว่าเน้นใช้ 2P

โดยสรุปความรู้แบบชัดแจ้ง และแบบฝังลึกทั้งสองอย่างต้องมีความสมดุลย์กัน ซึ่งจะต้องมีการเน้นทั้ง 2T และ 2P ที่จะต้องหนุนเนื่องเสริมกันและกัน จึงจะเรียกว่ามีความสมดุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น