หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

มโนทัศน์การเปลี่ยนมโนทัศน์

ครูมีทัศนะต่อนักเรียนในการสร้างแนวคิดที่มีต่อโลกของพวกเขา มากกว่าจะเป็นการรับรู้มาเพียงอย่างเดียว นักเรียนเลือกที่จะเข้าสู่การเรียนรู้และตีความสิ่งที่พวกเขาอ่าน ได้ยิน และสังเกต ดังนั้นความรู้ที่นักเรียนสร้างขึ้นเป็นบางส่วนเท่านั้นที่มาจากสารสนเทศใหม่ที่ครูนำเสนอ ส่วนมากความเข้าใจของนักเรียนมาจากแนวคิดและรูปแบบการคิดที่พวกเขามีอยู่แล้ว มากต่อมากประกอบด้วยฐานมโนทัศน์แบบซื่อไร้เดียงสาจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลด้วยปรากฏการณ์และภาษาในชีวิตประจำวัน


บทบาทของครูที่เด่นชัดด้วยทัศนะนี้คือสะท้อนแนวคิดนักเรียนที่มีในปัจจุบัน และแนวทางการคิดและวางแผนคำสอนให้สอดรับกันเพื่อนำทางนักเรียนในการสร้างความรู้อย่างเพียงพอมากขึ้น ตัวอย่างเช่นนักเรียนที่มีมโนทัศน์ที่ซีื่อไร้เดียงสา ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุหนึ่งๆ ที่คิดได้ว่าต้องมีแรงมากระทำ การวางแผนและใช้กิจกรรมเพื่อท้าทายทัศนะนี้ ดังนั้นครูจึงใช้หลักฐานและการโต้แย้งในบริบทของการประยุกต์ ดังนั้นนักเรียนก็จะค่อยมีความเชื่อมั่นด้วยพลังเชื่อมั่นที่สูงกว่า และด้วยการรับผลพวงของแนวคิดใหม่

ส่วนหลักของครูใช้การเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์มุ่งเน้นความสนใจในสถานะปัจจุบันของแนวคิดของนักเรียน และความาสัมพันธ์กับเรื่อง มาตรฐาน ครูที่ใช้การเปลี่ยนมโนทัศน์โดยทั่วตัดสินเนื้อหาที่จะใช้สอน ซึ่งมีประโยชน์โดยตรงในการช่วยเหลือนักเรียนพัฒนาความคิดเฉพาะทางขึ้นมา ความเป็นเหตุผลก่อตัวขึ้นจากการพิจารณาทั้งโครงสร้างของเนื้อหาวิชา และแนวคิดปัจจุบันของนักเรียน รวมทั้งความเหมือนและต่างกันระหว่างเนื้อหาวิชาและแนวคิดของนักเรียน

มโนทัศน์การเปลี่ยนมโนทัศน์ ที่นักการศึกษามองลึกลงไปในเทอมขององศาที่นักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมและประยุกต์ความคิดพื้นฐานในแนวการคิดของพวกเขาเองเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลกในชีวิตประจำวัน (Anderson, 1989)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น