หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

ธรรมาภิบาลกับความเป็นจริง

การที่หน่วยงานราชการต้องมากำหนดให้มีธรรมาภิบาล นั้นอาจจะเป็นไปได้ว่ามีการที่ทำไม่เป็นไปตามธรรมาภิบาล ซึ่งโดยทัวไปมักจะยอมรับที่จะใช้ธรรมาภิบาล แต่ในทางปฏิบัติก็ยังห่างไกล ประการแรกของธรรมาภิบาลที่ให้โปร่งใสตรวจสอบได้ กลับกลายเป็นว่าให้โปร่งใสเฉพาะบางเรื่อง ตรวจสอบได้เฉพาะบางเรื่อง แต่มีหลายเรื่องที่ยังมุบมิบ ปกปิด จนกว่าจะมีใครสืบเสาะชี้อออกมาให้เห็น ซึ่งต้องใช้ความกล้าหาญ และมีอุปสรรค์ขวางกั้นที่ทำให้ไม่สามารถที่จะให้โปร่งใสได้ ประการต่อมาคือความเสมอภาพ ยิ่งข้อนี้ยิ่งยากใหญ่และเข้าใจผิดกันมากที่สุดเพราะไม่ค่อยมีหน่วยงานใดประกาศออกมาให้ชัดเจนว่ามีความเสมอภาคกันเรื่องใด แล้วมีสิทธิอย่างไร เพราะความเสมอภาคกับสิทธิต้องกำหนดให้ชัด ไม่เอาความเสมอภาพกับสิทธิเป็นเรื่องเดียวกันมิฉะนั้นแล้ว ก็อาจทำให้เข้าใจผิดได้ เพราะใครจะมีสิทธิอะไร ไม่เหมือนกันตามสถานะ หรือตามหน้าที่ เช่นถ้าไม่ทำหน้าที่นี้ก็จะไม่มีสิทธิบางอย่างเป็นต้น แต่ความเสมอภาพนั้นทุกคนมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอกัน อย่างไรก็ตามความเสมอภาคจะเกิดได้ยาก หากมีการฝ่าฝืนกฏเกณฑ์เสมอภาคที่วางไว้ที่ทำให้บุคคลหนึ่งมีสิทธิมากกว่าอีกคนทั้งๆ ที่ควรจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นกับระบบพวกพ้อง ญาติมิตร ที่ทำให้ลำเอียงได้ ความจริงในเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ย่อม รักชอบคนใกล้ชิด เป็นธรรมดา ดังนั้นในธรรมภิบาลอีกขึ้อหนึงก็คือให้มีคุณธรรมเพื่อให้เกิดความลำเอียงน้อยที่สุด ที่ต้องมีใจเป็นธรรม แม้จะไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต็ก็ตาม


ข้อกำหนดในธรรมาภิบาลที่มีความสัมพันธ์กันคือ การที่ให้มีความรับผิดชอบ และให้มีภาระรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การดำเนินการอะไรก็แล้วแต่จะต้องเกิดประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในแนวทางที่เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งบ่งบอกถึงการมีประสิทธิภาพหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่ให้ผลงานเท่าเดิมหรือมากกว่า ดังนั้นการรับผิดชอบจึงไม่เพียงแต่ทำงานหนึ่งๆ ให้สำเร็จลงไป แต่ไม่ได้มองว่ามีประสิทธิภาพ หรือมีผลกระทบที่เป็นประโยชน์ จึงจะต้องมีภาระรับผิดชอบถึงผลการกระทำที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งในข้อนี้สังคมไทยได้ละเลยกันมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น