หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

การป้องปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศ

เมื่อไม่นานมานี้เราได้ข่าวเกี่ยวกับการจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องหรือดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการฉ้อฉลทุจริต และแม้แต่อาชญกรรมในต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยเราเคยได้ยินเรื่องการให้สินบนเกี่ยวกับซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในหน่วยงานต่างๆ เท่่าที่ทราบเช่นประเทศญี่ปุ่น และอะเมริกาตัดสินลงโทษคนของตัวเองที่มาให้สินบนในประเทศไทย ขณะที่ประเทศไทยกระบวนการยุติธรรมยังล่าช้าไม่สามารถตัดสินลงโทษใครได้เลย หรือไม่ก็ล่าช้ามาก


และขณะนี้ทราบข่าวว่า ไม่เฉพาะเรื่องการติดสินบน แต่ยังรวมไปถึงการกระทำผิดอื่นๆที่นำไปสู่การก่ออาชญกรรม จากแหล่งข่าวพอจะทราบได้ว่ามีบางประเทศ มีหน่วยปราบปรามพิเศษได้มาร่วมมือกับตำรวจไทยในการ ปราบปรามคนของประเทศตัวเองที่มากกระทำผิด เช่นมาตั้งแก๋๊งหลอกลวง ตั้งซ่องโสเภณี โจรกรรมก็มี ถ้าทำการจับกุมได้เมื่อไรก็จะถูกส่งตัวกลับไปรับโทษที่ประเทศของตัวเอง ซึ่งก็มีบ้างแล้วที่จับได้แล้วส่งกลับประเทศ ถ้ามองว่าได้ประโยชน์อะไรที่ทำเช่นนี้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำร้ายประเทศตัวเองกลับไปทำร้ายเสียหายแก่ประเทศอื่น ก็คงจะตอบได้ว่าไปทำให้ภาพพจน์ของประเทศเสียหาย สร้างความเจ็บแค้นให้คนอื่นๆ อาจมีผลต่อไปในอนาคตที่คนของประเทศตัวเองเมื่อไปประเทศอื่นๆ อาจไม่ปลอดภัยถูกแก้แค้นทดแทนได้ และอีกประการหนึ่งก็คือถ้าไปก่ออาชญกรรมประเทศอื่นได้เหมือนไปฝึกวิทยายุทธ์มา เมื่อกลับประเทศก็อาจนำประสบการณ์ไปใช้ก่ออาชญกรรมประเทศตัวเอง

ในเรื่องนี้เราเห็นตัวอย่างมาแล้วว่า เมื่อคนในประเทศของตัวเองหรือคนในประเทศของเราไปทำผิดในประเทศอื่น แล้วถูกจับได้ไปถูกลงโทษ ไปถูกตัดสินประหารชีวิตก็มี ทำให้ชื่อเสียงของประเทศเสียหายแน่นอน ความเชื่อถือต่อประเทศก็ลดน้อยลง บางครั้งเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศถึงขั้นตัดความสัมพันธ์ไปก็มี แน่นอนว่าย่อมกระทบผลประโยชน์ของประเทศแน่นอน การจะป้องปรามปราบปรามอาชญกรรมระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องยากเพราะแม้แต่คนของประเทศตัวเองก็ยังจัดการไม่ได้แล้ว จึงหวังได้ยากที่ไปจัดการอาชญกรรมข้ามชาติ และการป้องปรามอาชญกรรมทั้งหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศจึงต้องการความรู้ความสามารถในการจัดการซึ่งนั่นย่อมหมายถึงการมีคุณภาพของคนที่จะเข้าไปจัดการกับปัญหาเหล่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น