เรามีภูมิปัญญาหลายอย่างในแต่ละท้องถิ่นที่สั่งสมกันมานาน ภูมิปัญญาทั้งหลายก็ไม่ได้หยุดนิ่ง มีการพัฒนาต่อยอดปรับปรุงอยู่เสมอ อะไรที่ดีอย่างไม่มีที่ติหายาก หรืออาจจะมีแต่ไม่มีคนใช้คนสืบต่อก็จะล้มหายตายจากไป ดังนั้นแม้แต่ภูมิปัญญาก็ต้องมีการปรับปรุงพัฒนา ดังเราจะเห็นว่าสิ่งที่เราเคยปฏิบัติแบบหนึงเมื่อครั้งในอดีต มาในปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนแปลงไป
การพัฒนาภูมิปัญญาในปัจจุบัน แน่นอนว่าจำเป็นต้องบูรณาการศาสตร์สาขาอื่นๆ เข้ามาในอันที่จะสร้างคุณค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น ในกระบวนการนี้ย่อมมาจากการศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้ผลดี ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีความแน่นอน จะขอยกตัวอย่างว่าเมื่อก่อนเรามีการคัดเลือกพันธ์พืชในการปลูก เก็บเมล็ดพันธ์ดีไว้สำหรับเป็นพันธ์ในการเพาะปลูกครั้งต่อไป ทำให้พันธ์พืชนั้นยังรักษาสืบต่อดำรงต่อไปได้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าทุกเมล็ดจะได้ผลเหมือนกัน ยังมีส่วนที่ฝ่อไม่เป็นไปตามต้องการ เท่าที่ทราบอาจได้ผล 50-60 เปอร์เซนต์ แต่เมื่อมีผู้ศึกษาวิจัยพัฒนาให้ได้ผลเกือบร้อยเปอร์เซนต์ ซึ่งก็ต้องมีการลงทุนลงแรง หากทำขึ้นแล้วใครก็ลอกเลียนแบบได้ก็ไม่สามารถขายได้อีกต่อไป จึงทำให้มีแนวคิดการจดสิทธิบัตร และถ้าผู้อื่นจะลอกเลียนแบบก็ยังคงทำได้อีก จึงได้พัฒนากันไปถึงขั้นที่ว่า เมล็ดพันธ์ที่จำหน่าย เมื่อนำไปเพราะปลูกแล้วได้ผลดีเกือบ 100 เปอร์เซนต์ แต่จะนำเมล็ดที่ว่าได้ผลดีนั้นไปปลูกต่อไม่สามารถทำได้อีกต่อไป เป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่งที่เป็นความลับ ที่ใครต้องการจะให้ได้ผลดี 100 เปอร์เซนต์ ก็ต้องไปซื้อเมล็ดพันธ์จากบริษัทผู้ผลิตเท่านั้น หากคำนวนดูแล้วได้ผลดีกว่าการใช้เมล็ดพันธ์ที่เคยใช้อยู่เดิมทำให้รายได้เพิ่มกว่าเดิม ก็น่าจะยอมลงทุนซื้อเมล็ดพันธ์
ปัญหาก็คือว่าเราต้องมีการศึกษาหาเมล็ดพันธ์ที่ได้ผลดีเพื่อจะลดต้นทุนส่วนนี้ และเป็นเทคโนโลยีที่เราพัฒนาขึ้นได้เอง ปัจจุบันไม่ใช้เฉพาะพืช ในสัตว์ก็เช่นเดียวกัน หากต้องการเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลดี ก็ต้องชื้อลูกสัตว์ ไม่ว่าไก่หรือหมู ถ้าเลี้ยงตามวิธีที่เขากำหนด มีต้นทุนที่ต้องลงทุนซื้อลูกอ่อนสัตว์มาเลี้ยงและวิธีการเลี้ยวที่กำหนด ่ผลที่ได้ดีกว่ามีรายได้มากกว่าก็น่าจะลงทุน เพราะเมื่อไรก็ตามเอาลูกสัตว์ที่ซื้อมาไปทำพันธ์ต่อ มักจะไม่ได้ผลเพราะจะได้สัตว์ที่ขี้โรค พิการหรือผิดปกติทันทีในรุ่นต่อไป ถ้าหากเราไม่มีภูมิปัญญาที่ต่อยอดเราก็ต้องซื้อตลอดไป จนกว่าเราจะคิดค้นเทคโนโลยีของเราเองขึ้นมา ซึ่งก็ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น