ที่ผ่านมาเราวัดความเร็วในการทำงานจากข้อกำหนดทางฮาร์ดแวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเร็วของซีพียู โดยวัดความถี่นาฬิกาหรือคาบเวลาในหนึ่งวินาทียิ่งมีความถี่มากก็จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้น ความพยายามที่จะเพิ่มความถี่ของสัญญาณนาฬิกาดังกล่าว แม้จะทำให้ทำงานเร็วขึ้นแต่ก่อให้เกิดความร้อนสูงทำให้ต้องระบายความร้อนซีพียูด้วยครีบระบายที่ใหญ่ขึ้นและพัดลมที่มีกำลังสูงขึ้น ทำให้สิ้นเปลือกกระแสไฟฟ้าเป็นอย่างมากเสถียรภาพในการทำงานอาจจะลดลง ดังนั้นการเพิ่มความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ควบคุมการทำงานมีขีดจำกัด ในรุ่นเพนเตียมเคยผลิตไว้สูงสุดถึง 3.2 GHz
แต่ต่อมาเริ่มมีแนวคิดว่าทำอย่างไรให้ประหยัดไฟฟ้า และลดความร้อนของซีพียูลง ทำให้มีการพัฒนาซีพียูรุ่นใหม่ที่ลดความถี่สัญญาณนาฬิกาลงเพื่อให้ลดความร้อนประหยัดไฟฟ้าลงถ้าใช้ในโน้ตบุคก็ใช้กับแบตเตอร์รีได้นานขึ้นกว่าเดิม แต่เพื่อจะให้ได้ความเร็วในการทำงานไม่ลดลงจึงทำให้เกิดซีพียูหลายคอร์(หลายซีพียูทำงานคู่ขนาด) ปัจจุบันเท่าที่เห็นใข้ซีพียูคู่ขนานกันถึง6คอร์ในรุ่นไฮเอนด์ที่ต้องการความเร็วสูงแต่ประหวัดไฟฟ้า
ส่วนจะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเร็วมากกว่าเดิมหรือไม่น้อยกว่าเดิมอย่างไรนั้น ก็หันมาใช้การทดสอบด้วยซอพท์แวร์โดยมีโปรแกรมเบนซ์มาค์ (bench mark) เทียบเป็นคำสั่งต่อวินาทีซึ่งมีหน่วยวัดเป็นล้านคำสั่งต่อวินาที (MIPS:Million Instruction Per Second) ซึ่งจะบอกได้แน่ชัดว่าคอมพิวเตอร์เร็วกว่ากัน ซึ่งในความเป็นจริงยังมีองค์ประกอบอื่นๆประกอบกันด้วย เช่นขนาดหน่วยความจำ ชิปประกอบซีพียู หรือฟร้อนไซต์บัส (Front side bus) อันเป็นเส้นทางส่งผ่านขอมูล จำนวนคำที่ใช้ในการประมวลผลว่าเป็น 32 บิตหรือ 64 บิต หรือ 128 บิต เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น