สิ่งเหนี่ยวรั้งอุปสรรคกั้นขวางจากการเปลี่ยนแปลงระบบความรู้ก็คือ การแบ่งแยกกันทางความรู้ (knowledge divide) ที่แยกคนยิ่งออกห่างกันมากทุกที เทคโนโลยีที่ราคาแพงได้สร้างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศต่างๆ และระหว่างกลุ่มของคน ประเทศที่ผลิตความรู้อันเป็นผู้ค้นพบและสร้างนวัตกรรม มีสิทธิที่จะจดทะเบียนสิทธิบัตร มีเอกสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวและกำหนดราคาสิ้นค้าที่ใช้เทคโนโลยีอันเป็นเจ้า ของ ประเทศที่นำเข้าความรู้ซึ่งมีความจะเป็นต้องใช้เทคโนโลยี จะต้องใช้ทรัพยากรอันมีจำกัดในการซื้อ ดังนั้นจึงทำให้ยิ่งจนลงไปอีก การบริหารจัดการทางปัญญาที่เหมาะสม เป็นกระบวนการที่ในทางหนึ่งกระตุ้นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม แต่ในอีกทางหนึ่งนั้นมีความจำกัดที่จะเข้าใช้ การค้าเสรีภายใต้กลไกตลาดที่ละทิ้งไม่สนใจต่อส่วนของความเป็นมนุษย์ผสมโรง ต่อสถานะการณ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนาที่จะพยายามพัฒนาการแข่งขันทางการ วิจัยด้วยตัวเอง งานหน้าที่นี้ไปตกแก่มืออาชีพ
ขณะเดียวกันที่เกิดอันตราย โทษภัยใหม่เกิดขึ้น ซึ่งมืออาชีพที่มีความรู้เป็นฐานจะต้องรับรู้และเข้าไปจัดการดูแล ความไม่เท่าเทียม ความไม่ยุติธรรม การใช้ประโยชน์และความขัดแย้งจะต้องได้รับการกล่าวถึง แนวทางการวิจัยบางอย่างเช่น GMO เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน (embryonic stem cells) และ การตายของสมอง อาจก่อให้เกิดความกดดันเหนี่ยวรั้งกับคุณค่าของมนุษย์และความเป็นมนุษย์ ในระบบเก่าของคุณธรรม จริยธรรมอาจไม่สามารถเข้ามาจัดการเรื่องเหล่านี้ และคูณธรรมจริยธรรมใหม่จำเป็นที่ต้องก้าวเข้ามาจัดการในเรื่องนี้
แม้กระนั้นก็ตาม ผลประโยชน์อันสูงยิ่งก็มาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ยังมีช่วงโหว่รูรั่ว ในระบบทุนนิยม การค้าทางธุรกิจและการแข่งขันนั้นไม่ใช่คำตอบทั้งหมดที่จะแก้ปัญหาทั้งมวล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ นำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาเป็นส่วนในการแก้ปัญหาสภาพสังคมเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้น ภายใต้ปรัชญานี้มี 5 องค์ประกอบคือ ความพอประมาณอันเป็นทางสายกลาง ความมีเหตุผลที่อยู่บนฐานความรู้และหลักฐานอ้างอิง มีภูมิคุ้มกันเพื่อฝ่าฟันอุปสรรคขัดขวางที่เหนี่ยวรั้ง ต่อการเปลี่ยนแปลงอันได้แก่มาตรการยุทธวิธีต่างๆ ซึ่งก็ยังจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้และภูมิปัญญาเป็นฐานรวมทั้งจริยธรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์ที่มากำกับ
เราสามารถจะเห็นได้ว่าในสังคมความรู้ ที่ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานมีอิทธิพลอย่างสูง ในระบบทุนนิยม ธุรกิจการค้าและการแข่งขันนั้นเหมือนได้ให้เชื้อพลังขับให้มากยิ่งขึ้น ความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit) และการปฏิบัติที่ใช้หลักฐานเป็นหลักสำหรับทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และมีชีวิตที่ก่อให้เกิดผลงานผลผลิตด้วยความมั่งคั่งและความสะดวกสะบาย ความไม่เสมอภาค ความไม่ยุติธรรม การมีอำนาจเหนือครอบงำ การใช้ประโยชน์และความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดูเหมือนว่าโลกของเราต้องการสังคมความรู้ใหม่ ที่ซึ่งความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษย์มวลชนมีความโดดเด่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือเศรษฐกิจพอเพียงด้วยความพอประมาณทางสายกลางและศิลป์ของการเข้าใจผู้อื่น ที่ทำให้ได้ทางเลือกอื่นๆ ความรู้ที่มีอยู่ในคน (tacit knowledge) รวมทั้งองค์รวมและความรู้เชิงมนุษย์ศาสตร์ตามความเหมาะสมและความถูกต้องให้ เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง ดังนั้นแต่ละคนสามารถที่จะคาดหวังโลกที่มีความเสมอภาค การเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างเท่าเทียม มีความเป็นธรรมในสังคม การแบ่งปัน ความสงบสุขและการผสมกลมกลืนสอดคล้องกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น