จากพุทธวจนะของพระพุทธองค์ที่ว่า ความสุขอื่นใดเหนือความสงบไม่มี การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบที่นิยมทำกันมากที่สุดอย่างหนึ่งได้แก่การทำอาณาปานสติที่ใช้การพิจารณาลมหายใจเข้าออกเป็นฐาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ฐานอันได้แก่ สมถะกรรมฐาน สมถะวิปัสนา และวิปัสนาล้วนๆ ซึ่งสอดคล้องตามสติปัฏฐาน4 (กายานุปัสนา เวทนานุปัสนา จิตตานุปัสนา และธัมมานุปัสนา) และ ไตรสิกขา (ศิล สมาธิ และปัญญา)
โดยพื้นฐานที่สุดของอาณาปานสติขั้นต้นเราปฏิบัติสมถะกรรมฐาน โดยการใช้ร่างกายของเราเป็นวัตถุพิจารณาในสติปัฏฐาน4 ก็คือ กายานุปัสสนา ตรงกับไตรสิกขาที่จะต้องรักษาศิลและทำสมาธิ ในการปฏิบัติอาณาปาณสติขั้นต่อไปเป็นขั้นกลางในฐานสมถะวิปัสนา ที่มาพิจาณาทั้งกายและจิตคือ เวทนานุปัสนา และ จิตตานุปัสนา เข้าสู่ไตรสิกขาในเรื่องของปัญญา ที่ต้องพิจารณาให้เกิดปัญญา นอกเหนือจากส่วนที่เป็นสมถกรรมฐานสมบูรณ์อันมีศิลและสมาธิ
ในการทำอาณาปาณสติในขั้นปลายมีกรรมฐานที่เป็นวิปัสนาล้วนๆ ซึ่งนอกจากพิจารณาเวทนานุปัสนาและจิตานุปัสนาแล้วจะต้องพิจารณาถึงธรรมานุปัสนาที่อิงอาศัยปัญญาในการบรรลุธรรม โดยสรุป กายานุปัสนาสติปัฏฐานคือการศึกษาในเรื่องของกาย ส่วนการพิจารณาเวทนา จิต ธรรม ก็คือการศึกษาใจ ทุกคนสามารถที่จะได้ดวงตาเห็นธรรม เพียงแต่ต้องตั้งมั่นตรงอยู่ในศิล 5 ในทุกกรณี โดยมีสมถะกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ในส่วนกายานุปัสนา
ประมวลจากข้อเขียนของพระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น