หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้

คนจะเรียนรู้ได้ไม่เพียงแต่จากการคิด แต่ยังใช้ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ ความกระหายใคร่รู้ ตามแรงปรารถนา ที่ก่อตัวมาอยู่ในตัวคนหนึ่งๆ ที่รวมเข้ามาปะทะสังสรรค์ เกาะเกี่ยวโยงใยกัน เหมือนกับการกระทำที่ต้องใช้ไหวพริบเชิงจิตนาการ ที่แต่ละคนจับยึดถือเอาไว้ และยังรวมไปถึงการจัดโครงสร้างที่มีมาก่อนในอดีตที่จะเลี่อนไหลมาสู่การคิดเรื่องราวต่างๆเป็นมุมมองการพิจารณาของแต่ละคน

คนจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีแรงขับประจำตัวที่ฝังอยู่ หรือที่เป็นแรงผลักจากด้านใน ซึ่งเขาจะใสใจเอาใจใส่ ยอมทุ่มตัวเอง ให้ความสนใจที่จะเรียนรู้ ดูเหมือนว่าแต่ละคนจะเริ่มใช้ทักษะการเรียนรู้ที่สูงขึ้น เพื่อที่ให้การเรียนรู้เกิดการโยงใยเชื่อมโยง เพื่อที่จะใช้ไปในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ทักษะการเรียนรู้ที่สูงขึ้นนี้ได้แก่การ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมิน เป็นไปในทางที่มีความหมาย ในส่วนนี้มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยง เริ่มแรกกับระบบโรงเรียน อันเนื่องจากกิจกรรมในห้องเรียน ที่ได้จัดสถานะการณ์ สิ่งแวดล้อม เพื่อเคลื่อนจากการเป็นผู้รับรู้ความรู้สึกต่างๆ ไปสู่ความเข้าใจในเชิงนามธรรมจากการนึกคิด

กระบวนการในการเรียนรู้ในทางปฏิบัติ จะเป็นการเลือกตามความตั้งใจเสียมากกว่า เด็กๆ จะเรียนรู้สิ่งที่พวกเขาต้องการอยากจะเรียนรู้ เราจะปล่อยให้เด็กได้ใช้ความสนใจตามธรรมชาติอย่างเต็มที่ในวัยการเรียนรู้ แล้วสร้างขอบเขตที่กว้างขวางเข้าไปสู่ความเป็นเฉพาะทาง ให้ได้มีการแสดงออกที่จะแสดงถ่ายทอดไห้ผู้อื่นได้ คนเรามักจะสนใจ เอาใจใส่กับสนใจกับสิ่งที่จะเรียนรู้ และเราเกือบทั้งหมดเอาใจใส่กับเรื่องที่เลือก ตามความชอบตามความอย่ากรู้ และถือว่าเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง เป็นการเลือกที่จะเรียนรู้ เหมือนกับการวิจัยตนเอง ซึ่งเป็นการฝึกหัดอย่างจริงจัง ยาวนานจากการเลือกอย่างตั้งใจ

เมื่อเขากระหายที่จะเรียนรู้ ที่ยืนยันได้ในช่วงการเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ในตอนต้น ช่วงใดช่วงหนึ่งของแต่ละคนก็จะเข้าไปเชื่อมโยงกับความอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติอีกครั้งที่ยังคงมีอยู่เมื่อครั้งสมัยเป็นเด็กเล็กเป็นวงรอบหรือวัฏจักร บางทีอาจกล่าวได้ว่าความอยากรู้อยากเห็นที่ฝังอยู่ในแต่ละคนไม่เคยหาย แต่หยุดไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีสิ่งเร้าจากภายนอกมาปลุกกระตุ้นจนไฟภายในขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับการเรียนรู้ที่แท้ของชุมชนก่อตัวสร้างขึ้นเมื่อคนมาอยู่รวมกัน มีความตั้งใจที่สอดประสานกันเป็นแนวเดียวกัน สุดท้ายก้าวสู่การเรียนรู้ที่ลุ่มลึกได้ มีความเป็นอิสระที่ไม่สามารถแยกออกได้จากการเรียนรู้ ครูคนหนึ่งๆ ไม่สามารถทำให้นักเรียนมาเรียนรู้แบบทุ่มตัว แต่ครูก็สามารถที่จะสร้างแรงบันดานใจได้ เพื่อกระตุ้นความกระหายใคร่รู้ทำงานร่วมกับ ความต้องการ ที่ทำให้ความใฝ่ฝันที่มีอยู่เป็นจริงให้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น