*** ข้อเขียนนี้เขียนเมื่อ วันที่: 20 พ.ค. 2552
ช่วงนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจขาลงที่ทุกหมู่ ทุกเหล่าจะต้องช่วยเหลือประคับประคองให้ดำเนินไปได้โดยให้มีกระทบต่อทุกคนใน ภาพรวมให้น้อยที่สุด แน่นอนว่าในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคียงหาเงินใช้ยาก และมีคนเอาเงินไปจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ซึ่งแน่นอนว่ากระทบคนที่เคยค้าขายทุกระดับ ทำอย่างไรที่จะต้องช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนมาก และลดหลั่นกันไป ตามความเดือดร้อนแต่ใครจะเป็นผู้บอกว่าใครเดือดร้อนมากน้อยแค่ไหนเป็นเรื่อง ยาก
เราจะเห็นว่ามีหลายกลุ่มออกมาเรียกร้องให้รัฐเข้าไปช่วยเหลือ บ้างก็มาเดินขบวนอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาลบ้างหรือบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งก็เชื่อว่ารัฐก็ต้องหาทางช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจริงๆ แต่บางที่ได้ข่าวว่าความช่วยเหลือมาไม่ทันใจ ก็เรียกร้องความสนใจโดยการคืนบัตรประชาชนบ้าง ปิดถนนบ้าง ซึ่งไม่ว่าจะประท้วงโดยวิธีใดถ้าหากไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพื่อกดดันรัฐให้หันมาสนใจ วิธีการดังกล่าวนี้ถ้าผิดกฏหมาย หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแล้วไม่น่าจะกระทำนำมาใช้ น่าจะใช้วิธีการอื่นที่ดีกว่านี้
ส่วนใหญ่ผู้ที่เดือดร้อนมักจะเป็นเกษตรกรไทยที่มักมีหนี้สิน เป็นหนี้ธนาคาร และผลผลิตราคาตกต่ำยิ่งซ้ำเติมเข้าไปอีก หรือไม่ก็ผลผลิตเสียหายเนื่องจากภัยธรรมชาติบ้าง หรือจากความผันผวนของลมฟ้าอากาศที่ทำให้เกิดความเสียหาย เรื่องต่างๆ เหล่านี้ต้องหาทางช่วยเหลืออย่างไรทำอย่างไรให้มีหลักประกันต่อเกษตรกรได้ บ้าง รัฐจะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง กลุ่มเกษตรกรได้รวมกลุมมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง ได้พยายมช่วยเหลือตนเองอย่างไร ถ้ารู้ว่าผลผลิตจะตกต่ำล่วงหน้าควรจะทำอย่างไร หรือว่าถ้าเกิดภัยวิบัติจะทำอย่างไร ต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องมีการวางแผนเตรียมการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมกลุ่มกันช่วยเหลือกลุ่มของตัวเอง ให้มีอำนาจในการต่อรอง
ค่านิยมและวัฒนธรรมในการพึ่งพาตนเอง ความจริงตามแนวพุทธศาสนาก็มีพุทธภาษิตอยู่ว่า อันตาหิ อัตโนนาโถ ซึ่งหมายความว่าตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตนเอง ยามนี้เศรษฐกิจถดถอยถ้ามีน้อยก็ใช้น้อยตามอัตภาพ และสำหรับคนที่พอมีมากเหลือพอถ้าได้ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนบ้างจะช่วยให้ สังคมเราอยู่เย็นเป็นสุขได้แม้แต่ในยามที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี โดยนึกอยู่เสมอว่าเราจะเป็นสุขอยู่ฝ่ายเดียวได้อย่างไรขณะที่ผู้อยู่รอบข้าง ทุกร้อนอย่างแสนสาหัส สอดคล้องกับการศึกษาที่พบความจริงที่ว่าทุกสิ่งโดยเฉพาะระบบชีวิตที่ดำรง อยู่ได้เพราะมีการอิงอาศัยกันและกัน มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
และคำกล่าวของอดีตผู้นำประเทศสหรัฐอเมริกา ประธานาธิปดีเคนเนดี ที่สร้างแรงบัีนดารใจในเรื่องของการพึ่งพิงตนเอง สร้างค่านิยมที่ให้ความรู้สึกถึงเกียรติภูมิ ทำตัวให้เป็นประโยชน์ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และไม่ไปขัดขวางความก้าวหน้า ความสงบสุขใดๆ จากคำกล่าวที่ว่า “อย่าถามว่าประเทศจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามว่าท่านจะให้อะไรกับประเทศ “ ถ้าจะขอยกมาใช้เป็นสติเตือนใจได้ในยามที่มีการเรียกร้องอะไรกันมากมายก็น่า จะบรรเทาลงได้บ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น