หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การจัดการความโกรธกับเด็กๆ

การรู้สึกโกรธไม่ใช่เลวหรือดี แต่เป็นเรื่องปกติที่จะมีปฏิกริยาตอบโต้ความรู้สึกที่ไม่ดี ไม่ว่าสิ่งไม่ถูกต้องไม่ดีนั้นเป็นจริงหรืออยู่ในจินตนาการ เป็นสิ่งที่เราจัดการกับความโกรธของเรา เรากระทำอย่างไรเมื่อเราโกรธนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างเช่นเมื่อเราอยู่ในภาวะที่โกรธด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ ต่อมาภายหลังเราอาจจะรู้สึกเลวร้ายและเศร้าสร้อยคร่ำครวญ อย่างไรก็ตามเมื่อเราสามารถที่จะพูดคุยอภิปรายกับใครบางคนที่เข้าใจสถานะการณ์ เราอาจรู้สึกดีขึ้น การพูดกับคนที่เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้สึกเจ็บใจ ทำร้ายทำลายความรู้สึกในครั้งแรกนั้นอาจสร้างรอยร้าวระหว่างเรากับบุคคลนั้นมากยิ่งขึ้น


เป็นการยากสำหรับเด็กที่จะทราบความแตกต่างระหว่าอารมณ์โกรธและอะไรที่ทำลงไปด้วยความโกรธ สำหรับเด็กแล้วมันเป็นอันเดียวกัน แม้กระนั้นก็ตามเด็กๆ ยังจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างดังกล่าว ถ้าเรากำลังจะแยกกันระหว่างอารมณ์โกรธและการกระทำจากการโกรธให้เด็กได้เห็นอย่างเด่นชัดจากใจที่โกรธของเด็ก เราในฐานะที่เป็นพ่อแม่จะต้องสื่อสารให้เห็นถึงความแตกต่าง เราสามารถที่จะสอนให้เด็กให้พวกเขาสามารถรู้สึกโกรธและแสดงความโกรธได้ แต่ไม่ใช่เป็นไปในทางการทำลายล้าง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า โอเคที่จะโกรธแต่ไม่โอเคที่จะกระทำในทางทำลายล้างเมื่อโกรธ

เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องทำความแตกต่างให้เห็นกับเด็กๆ ของเรา พวกเขาไม่ควรจะถูกยั่วให้รู้สึกโกรธเพียงเพื่อให้เกิดพฤติกรรมทำลายล้างด้วยความรุนแรง และในที่สุดแล้วเด็กก็เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างความรู้สึกโกรธและการกระทำที่เป็นความโกรธที่เป็นอันตราย ถ้าเด็กๆ ของเราแสดงความโกรธในทางทำลายล้างแล้ว จงแสดงปฏิกิริยาในทางที่จะช่วยเหลือให้บรรเทาลง โดยการพูดแสดงความเห็นใจ ก็โอเค ที่เธอก็ควรจะโกรธอยู่หรอก แต่ฉันไม่ต้องการให้พวกเธอไปตบตีทำร้ายใคร หรือพูดว่า ฉันไม่ต้องการให้เธอไปทำลายข้าวของ หรืออะไรก็ตามรวมทั้งตัวเธอด้วย

เด็กๆมักจะมีปัญหาในการสื่อสารในการแสดงอารมณ์ตอบโต้ เพราะว่าพวกเด็กๆ นั้นยังขาดภาษาที่จำเป็นในการแปลสิ่งที่พวกเข้ารูสึกออกมาเป็นคำพูด พ่อแม่ควรจะช่วยเด็กแสดงความรู้สึกด้วยภาษาพูดถึงอะไรที่พวกเขารู้สึกและโกรธ เรารู้เข้าใจเด็กๆ ของเรามากที่สุด จงมองหาตัวบอกใบ้เล็กๆ น้อยๆที่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความโกรธ มีสัญญาณบ่งชี้ทั่วไปสองประการคืออาการงอน น้อยใจ (pouting หรือ sulking) และอีกอย่างคือท่าทีที่มักจะได้ยินคือ ฉันไม่แค่อะไรทั้งสิ้น แต่ว่าเด็กแต่ละคนจะมีสัญญาณบ่งบอกเป็นของตัวเอง ที่น่าสังเกตก็คือการให้ยอมรับว่าเด็กยอมรับว่ารู้สึกโกรธเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่จะทำได้ จะต้องให้เวลาอยู้บ้างในการฝึกสำหรับเด็กให้รู้สึกสบายขึ้นเมื่อได้แสดงความโกรธโดยการพูดและท่าทาง พ่อแม่ผู้ปกครองอาจจะต้องใช้ชุดของคำถามที่เกี่ยวข้องกับว่าทำไมพวกเขาถึงได้โกรธ

เรามักจะเจอสถานะการณ์ที่เด็กทะเลาะกัน ทุบตี ชกต่อย หยิกง่วน ดึงดันกัน จากการเล่นด้วยกัน แย่งของเล่นกันเป็นต้น และต้องมีฝ่ายหนึ่งไปกระทำอีกฝ่ายหนึ่งก่อน พ่อแม่ผู้ปกครองที่เห็นอาการดังกล่าวจะต้องแยกคู่กรณีออกจากกันนั่งลงคุยกับพวกเขา ต้องบอกทันทีว่าไม่ว่าใครไม่สามารถที่จะให้ทำเช่นนั้นได้ พูดแสดงความเห็นใจที่ต้องโกรธเป็นเรื่องธรรมและโอเค แต่ไม่โอเคที่จะใช้ความรุนแรงใช้กำลังทำร้ายกัน แม้ว่าจะเป็นฝ่ายผิดก็ตาม ก็เป็นสิ่งไม่ดีอยู่ดีที่จะไปตบตีชกต่อยเขา แม้ว่าพูดแล้วเขาไม่ฟัง แต่แนะให้เด็กได้พูดแสดงความรู้สึกที่ผู้อื่นมากระทำมาแย่งของรักก่อน เด็กอาจแย้งว่าเขาไม่ฟังไม่ว่าจะพูดอย่างไร พ่อแม่จะต้องรีบพูดอธิบายว่า เราจะรู้ได้อย่างไรถ้าเราไม่พยายามพูดก่อน และถ้าพูดแล้วเขายังไม่ยอมหรือยังแย่งละเมิดอยู่ก็ให้มาบอกพ่อแม่ให้ช่วย เป็นดีที่สุด

อีกแนวทางหนึ่งที่พ่อแม่นำมาใช้เพื่อส่งเสริมให้เด็กๆมีปฏิกิริยาต่อความโกรธอย่างเหมาะสมคือ การเตือนเด็กๆ ในเวลาที่เด็กๆทำให้พ่อแม่โกรธ โดยเตือนเด็กว่ากำลังพุดกับเขาด้วยความรู้สึกโกรธแต่ก็ไม่ได้ทุบตีหรือใช้กำลังใดๆ การจะสอนเด็กได้เช่นนี้ได้อย่างเหมาะสมนั้น ก็ต้องมองมาที่ตัวเราอันเป็นพ่อแม่ ประเมินถึงว่าเราได้เราได้จัดการกับความโกรธอย่างไรให้เด็กได้เห็น โดยพฤติกรรมของเราก็จะเป็นแบบอย่างสำหรับการกระทำของเด็กต่อไป เพราะเด็กๆ มักเลียนแบบมาจากผู้ใหญ่ จงถามตัวเราเองว่าอะไรบ้างที่เด็กๆ อาจเรียนรู้จากเราเกี่ยวกับการจัดการกับความโกรธเมื่อเราอยู่ในสถานะการณ์ที่ยุ่งยากเลวร้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น