หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ผลของแนวคิดที่จะให้ทุกอย่างอยู่บนคอมพิวเตอร์

เดิมคอมพิวเตอร์ทำงานคำนวณเป็นหลักจึงเรียกว่าคอมพิวเตอร์ ซึ่งมาจากคำ compute แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามชุดคำสั่งที่เก็บไว้ภายในได้โดยอัตโนมัติ และทำงานได้เร็วจึงค่อยๆ ขยายการทำงานออกไปสู่การประมวลผลข้อมูลด้านอื่นๆ ทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำผลการทำงานในรูปของสื่อผสมหรือมัลติมีเดีย คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงเรียกได้ว่าเป็นมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ โดยสามารถที่จะแสดงผลตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวได้อย่างมีคุณภาพ ใกล้เคียงกับสิ่งที่มองเห็นมากที่สุด นอกจากนี้ยังบูรณาการคอมพิวเตอร์เข้ากับการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็วแค่ชั่วพริบตา ดังที่เราเห็นการใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ผ่านทางการสื่อสาร ผสมผสานกันเป็นเทคโนโลยีข่าวสาร (information technology:IT) ในการนี้ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นตัวการสำคัญในการเข้าสู่สังคมข่าวสาร (information society) ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลกวิธีคิดวิธีทำงาน และวิธีการดำรงชีวิต ที่ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตที่เคยเป็นอยู่เดิมอย่างมากมาย ที่การเปลี่ยนแปลงที่ส่วนหนึ่งของโลกส่งผลไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่เรารู้จักกันในนามโลกาภิวัฒน์ (globalization)


แนวคิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกได้มากมายในปัจจุบันไม่ใช่การใช้เครื่องจักรมาแทนแรงงานคนเช่นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่เป็นแนวคิดที่พัฒนาดิจิทัลคอมพิวเตอร์ให้มีความฉลาดหลักแหลม ให้คอมพิวเตอร์ก้าวเข้ามาช่วยมนุษย์ในการคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหา ด้วยที่เป็นที่พิสูจน์ยืนยันชัดเจนแล้วว่ายิ่งพัฒนาให้คอมพิวเตอร์มาช่วยงานมนุษย์มากเท่าใดก็จะยิ่งพัฒนางาน และวิชาการที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้มีการจ้างงานด้านหนึ่งน้อยลงเพราะคอมพิวเตอร์เป็นผู้ทำงานแทน แต่กลับสร้างงานด้านอื่น ที่เป็นการสร้างงานใหม่ๆ ให้กับมนุษย์ได้มากมายในทุกสาขามากกว่าในด้านที่จ้างแรงงานน้อยลง จากแนวคิดดังกล่าวนี้ทำให้มีความพยายที่จะพัฒนางานต่างๆ ให้คอมพิวเตอร์มีส่วนในการช่วยงานให้มีประสิทธิภาพที่มีส่วนทำให้ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน ถ้าเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจก็จะส่งผลทำให้มีกำไรสูงสุดได้

การพัฒนาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียส่งผลให้มีการปฏิวัติวงการบันทึกเสียงและบันทึกภาพ จากที่พัฒนาให้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างภาพ ภาพเคลือนไหวและเสียง จากการบันทึกเสียงและภาพ ภาพเคลื่อนไหวในระบบแอนะล็อกที่ใช้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของสื่อข้อมูลในการบันทึกและใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นในการอ่านจากที่บันทึกไว้ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวซึ่งเครื่องมือเหล่านั้นถือว่าล้าสมัยไปหมดแล้ว แทบไม่มีการใช้กันอีกต่อไป ได้แก่ แผ่นเสียง เทปม้วนหรือเทปคาสเซ็ตทั้งที่ใช้บันทึกภาพและเสียง กล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม เป็นต้น คอมพิวเตอร์เป็นตัวการสำคัญเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนหลักการจากระบบแอนะล็อกมาเป็นระบบดิจิทัล ที่เป็นหลักการพื้นฐานที่ใช้ในการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ โดยพัฒนาเครื่องบันทึกและอ่านข้อมูลที่จะเป็นส่วนนำข้อมูลเข้าและส่วนนำข้อมูลผลกากรทำงานออกมาบันทึกไว้ในสื่อข้อมูลแบบดิจิทัล อันได้แก่ฮาร์ดดิสค์และซีดีรอม ต่อมาได้พัฒนาซีดีรอมไปเป็นเครื่องสำหรับดูภาพยนต์และฟังเสียงเพลงและดนตรี ดังที่ในตอนแรกเราเรียกกันว่า เครืองเล่นคอมแพคดิส เพลเยอร์ (compact disk player: CD player) ที่ฟังเพลงและดนตรีได้เพียงอย่างเดียวต่อมาได้พัฒนาให้สามารถเล่นได้ทั้งวิดีโอ และฟังเพลงและดนตรีในเครื่องเดียวกัน จะเรียกว่า video compact disk player: VCD player) และพัฒนาเป็นเครื่อง ดีวีดีเพลเยอย์ (Digital Video Disk : DVD Player) ที่ให้คุณภาพดีกว่าและสามารถเล่นไฟล์ภาพและเสียงฟอร์แมทต่างๆ ได้

อุปการณ์ที่ใช้ในการสร้างภาพเช่นกล้องถ่ายรูป ก็เปลี่ยนไปเป็นกล้องดิจิทัลที่ใช้หน่วยความจำเป็นฟิล์มที่เรียกว่าเมมโมรีสติก (memory stick) ซึ่งสามารถถอดเข้าออกเปลี่ยนได้เมื่อบันทึกภาพไว้เต็ม นอกจากนี้สามารถที่จะลบภาพที่ถ่ายไว้แล้วได้และนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ร้านถ่ายรูปเดิมปรับเปลี่ยนจากที่เคยรับล้างฟิล์มอัดรูป กลายมาเป้นรับพิมพ์ภาพและตกแต่ภาพแทน เช่นเดียวกับการถ่ายวิดีโอก็เปลี่ยนจากฟิล์มเป็นม้วนมาเป็นฮาร์ดดิสค์หรือแผ่นซีดีรอม ทำให้การตัดต่อเคลื่อนย้ายทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม สำหรับอุปกรณ์บันทึกเสียงและบันทึกภาพวิดีโอก็เปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลที่บันทึกลงในหน่วยความจำได้โดยตรง และสามารถทำงานได้เร็วกว่าเดิมหลายเท่า นอกจากนี้แล้วยังมีอุปกรณ์อีกหลายอย่างที่พัฒนาขึ้นมาแทนอุปกรณ์เก่าที่ใช้ในระบบแอนะล็อก จะได้นำเสนออีกครั้งหนึ้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น