การสอนวิทยาศาสตร์ในแนวทางที่ช่วยผู้เรียนสะท้อนผลการคิดและการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกธรรมชาติ คือส่วนที่มีความหมายในการสอนเพื่อความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ โดยที่ยุทธวิธีในการสอนขึ้นอยู่กับเพียงความเข้าใจว่านักเรียนเรียนรู้อย่างไร กล่าวคือ
1. การเรียนรู้มีทิศทางมีเป้าหมาย ผู้เรียนที่มีทักษะการเรียนรู้จะเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างกระตือรือร้นในการสร้างความหมาย และเป็นผู้เรียนที่เป็นอิสระ
2. การเรียนรู้เชื่อมโยงส่วนที่เป็นอิสระไม่ได้ขึ้นอยู่กับอะไร
3. การเรียนรู้ทำให้มีการจัดโครงสร้างความรู้
4. การเรียนรู้เป็นยุทธวิธี ผู้เรียนที่มีทักษะจะพัฒนาความชำนาญ ซึ่งให้ผลเท่าๆกับการควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของตัวเอง
5. การเรียนรู้เกิดเป็นด้านๆ (in phase) ไม่เป็นเชิงเส้น และต้องการให้ผู้เรียนคิดเชิ่อมโยงเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วนำเข้ามาร่วมกับอะไรก็ตามที่กำลังจะเรียนรู้ใหม่ และทำให้ความรู้นั่นมั่นคงขึ้น
6.การเรียนรู้ได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาการ กำหนดขึ้นเป็นเหมือนกับความหมายของการเรียนรู้ที่มีเหตุผลเข้าใจได้ การรู้อะไรที่มีคุณค่านั้นครูวิทยาศาสตร์ต้องตัดสินได้ว่าอะไรที่จะให้เรียนรู้
ตามทัศนะการสอนของครู้จะเป็นการนำเสนอความรู้ ส่วนทัศนะที่ให้ผู้เรียนคนพบด้วยตัวเองครู้เป็นเพียงผู้จัดประสบการณ์ ซึ่งในทัศนะการสร้างความรู้จะต้องนำทั้งสองทัศนะดังกล่าวมรวมกัน ซึ่งครู้จำเป็นต้องจัดประสบการณ์ที่จำเป็นให้นักเรียนได้เข้าใจวิทยาศาสตร์ โดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์และปรากฏการณ์ โดยการแทรกแซง การพูดคุยเจรจา เป็นหลัก และถือว่าการสอนเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง
ส่วนที่เป็นหัวใจของประสบการณ์การสอนและการเรียนรู้ที่ดีก็คือความสัมพันธ์เชิงวิกฤติก็คือความสัมพันธ์ที่ครูและนักเรียนแสวงหาคำถามและคำตอบจากความคิดระหว่างกัน เพื่อที่จะตีความความคิดใหม่ ในแนวทางที่จะปรับปรุง หรือแม้แต่จะล้มเลิกความคิด (Rowland,1984 p1)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น