หน้าเว็บ

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบต่างๆ ของทรัพสินทางปัญญา

เมื่อไรก็ตามที่มีผลงานที่ได้จากความคิดสร้างสรรค์ ที่เมื่อทำงานเสร็จแล้ว อันเป็นผลงานของนักออกแบบ นักประดิษฐ์ต้องได้รับการคุ้มครองที่หลากหลาย ซึ่งอาจได้รับการคุ้มครองมากกว่า 1 อย่าง โดยทั่วไปทรัพสินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครองต้องมีการจดลิขสิทธิ์ไว้ ซึ่งลิขสิทธิ์มีหลายประเภทกล่าวคือ

ความลับทางการค้า เจ้าของต้องเก็บไว้เป็นความลับ มีความลับในเรื่องใด ต้องมีมาตรการในการรักษาความลับ ถ้าคนอื่นมาว่าจ้างให้ทำหรือว่าจ้างผู้อื่นให้ทำ จะต้องมีสัญญากับผู้รับจ้างและผู้จ้างว่าจะไม่นำความลับไปเปิดเผย ผู้ที่่จดทะเบียนลิขสิทธิ์จะต้องจดรายละเอียดทั้งหมดที่ต้องเปิดเผยให้เพียง พอที่ผู้ตรวจสอบสามารถตรวจสอบได้ และหลบเลี่ยงจุดสำคัญทึ่จะไม่เปิดเผยในส่วนนั้น หรือเปิดเผยไม่ทั้งหมด ที่สามารถนำไปจดทะเบียนเป็นความลับทางการค้า

ในการจดลิขสิทธิ์อาจได้สิทธิข้างเคียงไปด้วย เช่นภาพยนต์ในแต่ละเรื่องถ้ามีผู้นำรูปจากภาพยนต์ไปใช้เจ้าของภาพยนต์อาจจะ ฟ้องร้องเป็นการละเมิดสิทธิข้างเคียงได้ ดังนั้นสิทธิข้างเคียงก็คือ ผลการกระทำอย่างหนึ่งแต่ได้สิทธิอีกอย่างหนึ่ง

สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร นั้นเน้นให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ใน 3 ลักษณะคือ สิทธิบัตรการออกแบบ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ และอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ สำหรับอนุสิทธิบัตรจะไม่รวมการออกแบบ การออกแบบผลิตภัณฑ์ และเครื่องหมายการค้า การคุ้มครองการออกแบบจะรวมถึง รูปร่าง ลวดลาย องค์ประกอบของสี เป็นต้น ส่วนสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ คุ้มครองผลิตภัณฑ์กับกรรมวิธี

ในระบบการตรวจสอบนั้น ญี่ปุ่นและอะเมริกาตรวจสอบเลย ตรวจสอบแล้วให้บุคคลภายนอกมาคัดค้านภายใน 90 วัน สำหรับประเทศไทยรอตรวจสอบ ต้องมาขอให้ตรวจสอบแล้วจดทะเบียนเลย ที่ดีไม่ควรรอตรวจสอบให้ร้องขอให้ตรวจสอบดีกว่า และเนื่องจากประเทศไทยได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามอนุสัญญาเบิร์น (Bern) ตามภาคีอนุสัญญาเบิร์นที่มีภาคีสมาชิก 163 ประเทศ ที่ถือว่างานวรรณกรรม นาฏกรรม ภาพยนต์ ด้านวิทยาศาสตร์และศิลปกรรม งานบันทึกเสียง ภาพถ่าย งานปฏิมากรรม งานภาพประกอบ ไม่ว่าจะมีคุณภาพทางศิลปหรือไม่ ถ้านำไปใช้ประโยชน์ถือว่าเป็นศิลปประยุกต์ งานสร้างสรรค์ดังกล่าวแล้วได้รับการคุ้มครองโดยอัตโนมัติตามอนุสัญญา

เมื่อผลงานเสร็จได้สิทธิ์เมื่อประกาศว่าเป็นเจ้าของสิทธิ์ หรือเมื่อเผยแพร่งานไปมากแล้วอาจแจ้งไว้ที่กรมทรัพสิทธิ์ทางปัญญา ซึ่งจะมีวิธีการจัดการเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ที่จะทำต่อเมื่อได้ยื่นขอสิทธิบัตร เรียบร้อยแล้วดูว่าจะขอลิขสิทธิ์อะไรได้บ้างก็คือการทำคำขอรับสิทธิ์

นอกจากความลับทางการค้าแล้วยังมีเครื่องหมายการค้า อันประกอบด้วยเครื่องหมายโลโก้ สัญลักษณ์ รูปภาพ เอาภาพ ตัวอักษร มาทำเป็นกราฟิกส์ เอาตัวอักษรมาทำให้แปลกๆ ออกไป เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายประเภทเช่นหมวกเสี้อ ที่ติดไว้ที่ตัวสินค้า อะไรที่คนจะจำเราได้ เห็นแล้วนึกถึงเราได้ ให้จดเป็นเครื่องหมายการค้าได้ สิทธิบัตรก็อาจนำมาจดเป็นเครื่องหมายการค้าได้ โดยมีฐานข้อมูลสิทธิบัตร เมื่อเข้ารับขอสิทธิบัตรให้ถือว่าได้ยื่นคำขอในวันที่แสดงนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น