คำว่า รู้ (to know) จะหมายถึงเข้าใจหรือเห็นได้โดยตรง หรือเห็นเข้าไปหรือเข้าถึง หรือซึมซับด้วยตัวเอง หรือเข้าไปร่วมกับมัน เข้าไปมีส่วนร่วมหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย ดังนั้นการรู้จึงเป็นการปฏิสัมพันธ์ การมีสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงสร้างขึ้นระหว่างผู้รู้ และได้รู้ (knower and known) ดังนั้นทั้งสองรวมเป็นหนึ่งเดียว
การรู้เรื่องใหม่เกี่ยวข้องกับที่รู้มาก่อน และการเรียนรู้อะไรได้ดี เป็นประตูที่จะก้าวไปสู่การเรียนรู้มากขึ้น ความแน่นอนของการเรียนรู้ หรือการรู้มากกว่าที่ทำได้มาก่อน นั่นก็คือจุดปลายของกระบวนการเรียนรู้ การรู้จึงเป็นจุดปลายหรือจุดจบของการเรียนรู้ แต่จุดจบดังกล่าวจัดเป็นเพียงจุดเชื่อมหรือสพานที่ทอดไปสู่การเรียนรู้มากขึ้น
การเรียนรู้ไม่สามารถเกิดขึ้นบนฐานที่ไม่มีอะไรเลย เราจะรู้ได้อย่างไรถ้า เราไม่รู้อย่างหนึ่งอย่างใดมาก่อน ซึ่งการรู้อะไรมาก่อนเป็นเมล็ดพันธ์ของการเรียนรู้ภายใน ความเป็นไปได้ของเรื่องที่ได้รู้แล้วนั้น ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นไปตามที่คิดเมื่อกล่าวถึงความจริง (facts) ที่เป็นการเรียนรู้เชิงบรรยาย เช่นไม่มีทางเลยที่เราจะรู้เสมอเกี่ยวกับพัทยาที่เป็น เมืองใหญ่ในจังหวัดชลบุรี เราจำเป็นต้องจำรู้จังหวัดชลบุรี และเมืองใหญ่ ได้ก่อน เมื่อรู้ (coming to know) จึงเป็นกระบวนการที่พิศวงศ์ลึกลับทีเดียว เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการรู้แล้วมาก่อนเสมอ กระบวนการจริงๆ เมื่อรู้ มักจะไม่ใช่งานที่จะอยู่เฉยๆ แต่ต้องทำงานหนักและมีความยากลำบากอยู่บ้าง
อะไรเป็นสาเหตุให้การเรียนรู้เกิดขึ้นก็คือความต้องการเพื่อรู้ ขณะที่เป็นเด็กๆ เราทั้งหมดถูกผลักดันจากความความไม่พอใจกับเรื่องที่เป็นอยู่ จึงจำเป็นให้ต้องสืบค้น ค้นคว้าทุกอย่างโดยรอบ เพื่อสนองความต้องการที่อยากรู้ จากความไม่พอใจหรือขัดแย้ง กับความต้องการที่ต้องการรู้ จึงทำให้ต้องค้นคว้าในเวลานั้นอย่างกระตือรือร้น เป็นความปรารถนาภายในเพื่อรู้ที่จำกัดวงแคบเข้าเพื่อเรียนรู้ภายใต้ขอบเขตของวัฒนธรรมของแต่ละคนที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น