หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การสอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา

ผู้ที่จะสอนวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับผู้เรียน ความรู้ทางด้านจิตวิทยา ลักษณะทางอารมณ์และสังคม ในการสอนต้องรู้ว่าวิทยาศาสตร์ใดสำคัญและเหมาะสมสำหรับเด็กประถมในการเรียนรู้ นอกจากนี้ครูผู้สอนจำเป็นต้องทราบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน รู้ยุทธวิธีให้เด็กนักเรียนเข้าใจและจำเนื้อหาได้ และการจัดการภายในห้องเรียน ดังนั้นนักศึกษาฝึกหัดครูจำเป็นต้องมีประสบการณ์อย่างจริงจังกับเด็กๆ การศึกษาค้นคว้า การพัฒนาการทางความ คิด สังคม กายภาพ และอารมณ์

ความรู้เกี่ยวกับการสอนความรู้เนื้อหา ผู้สอนควรจะได้ทราบถึงการพัฒนามโนทัศน์ของเด็กนักเรียน ว่ามีหลายอย่างที่นักเรียนอาจยังเข้าใจผิด เช่นว่านักเรียนมักจะสับสนเรื่องอาหารของพืชกับอาหารที่สัตว์กิน ซึ่งพบว่ากระบวนการสังเคราะห์แสงมีความซับซ้อนเกินไปสำหรับเด็กประถมศึกษา เด็กประถมจะเข้าใจเพียงหลักการทั่วไปว่าเป็นกระบวนการที่พืชสร้างอาหารขึ้นมาเอง และกระบวนการนี้ต้องการแสงอาทิตย์ แกสคาร์บอนไดออกไซด์ และผลลัพธ์ของการสังเคราะห์แสงมีการสร้างน้ำตาลขึ้นมา

นักเรียนมักเชื่อว่าพืชที่เติบโตขึ้นสูงจะดูแข็งแรงสดใสกว่า (แม้ว่าจะอ่อนแอ)พืชที่สั้นเตี้ยแข็งแรงเป็นพุ่ม นอกจากนี้เด็กนักเรียนจะยังไม่เข้าใจแนวคิดเชิงทฤษฎีหรือมโนทัศน์เกี่ยวกับอะตอม โมเลกุล พลังงานและปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในกกระบวนการสังเคราะห์แสง ที่เป็นเรื่องนามธรรม ยังเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กประถม อาจเป็นเพราะนักเรียนในระดับนี้ไม่สามารถที่จะเห็น รู้สึก หรือได้ยิน การสอนเรื่องสังเคราะห์แสงควรผ่านไปถึงมัธยมต้นหรือเมื่อเริ่มประถมปลายในชั้นป5 หรือป6

ความรู้เกี่ยวกับยุทธวิธีการสอน นั้นควรจะให้โอกาสและทางเลือกแก่นักเรียนให้มากในการทดลอง นักศึกษาฝึกหัดครูระดับประถมศึกษาจะเป็นต้องมีเวลาในการวิเคราะห์ อภิปรายกันถึงเป้าหมายของวิทยาศาสตร์ศึกษาในระดับประถม ในอันที่จะพัฒนาให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ที่ฝังตัวอยู่ในตัวเด็กเกี่ยวกับโลกโดยรอบ เพื่อขยายขอบเขตทักษะของขั้นตอนวิธีการและทักษะการคิดในการศึกษาหาความรู้ของโลก การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ เพื่อที่จะเพิ่มความเข้าใจของเด็กๆของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเพื่อพัฒนาความเข้าใจของเด็กถึงขีดจำกัดและความเป็นไปได้ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น