หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อริยสัจสี่กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์

แนวการสอนตามแนวศาสนาพุทธ จะสอนจุดหมายปลายทาง และบอกวิธีการ แต่ละคนไปทำให้เกิดผลเอาเอง ไมเหมือนกับองค์กรอาจเป็นวิธีการสาธารณะที่ ผลของมันไม่บังคับเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล กระบวนการทั้งหลาย (process) ทุกคนทุกหน่วยงานได้ผ่านการกลั่นกรองว่าได้ผลจริง


อาจกล่าวได้ว่าวิธีการทางพุทธศาสนาเป็นไปตามหลักในอริยสัจสี่ คนทั่วไปไม่ได้ใช้หลักในกระบวนการนี้จึงไม่ค่อยเห็นคุณค่า ตีความได้ว่า ทุกสิ่งย่อมเกิดจากเหตุปัจจัยให้เกิด นั่นก็คือหลักของเหตุและผล ในอริยสัจสี่ แยกออกเป็น 2 คู่คือ

1. ทุกข์กับสมุทัย โดยทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ

2. นิโรชกับมรรค โดยนิโรชหรือความมุ่งหมายเป็นผล ส่วนมรรคเป็นเหตุหรือวิธีการที่จะทำให้เกิดผล

จะเห็นว่าวิธีการทางพุทธศาสนาเริ่มจากสิ่งที่ง่ายอันเป็นผลของการกระทำและไม่ได้กระทำ เห็ตผลที่ดำรงอยู่ขณะนี้ว่าดีหรือไม่ดี แล้วจึงบอกวิธีการว่าจะแก้ที่ไม่ดีอย่างไร และทำอย่างไรให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

พระพุทธเจ้าได้ออกบวชเพื่อหาวิธีการแก้ทุกข์ ในที่สุดก็ค้นพบสัจธรรม อริยสัจสี่ เป็นสัจธรรมที่จะต้องประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับระดับต่างๆ ไม่ว่าใครที่ยังศึกษาอยู่ก็ยังมีทุกข์ และใครๆก็เรียนรู้เพื่อที่จะแก้ทุกข์ วิธีการที่พระพุทธองค์ใช้จะไม่แสดงวิธีการวิเคราะห์ แต่จะเอาหลักธรรมหรือหมวดธรรม โดยปฏิบัติหลักธรรมเล็กให้สอดคล้องกับหลักธรรมใหญ่ เป็นการใช้เหตุผลที่ใช้หลักธรรมใหญ่หรือความจริงใหญ่ เป็นตัวตั้งแล้วสรุปเป็นความจริงย่อย เช่นว่า มนุษย์ทุกคนต้องตาย ซึ่งตรวจสอบยืนยันมาแล้วอย่างไม่มีข้อสงสัยว่าเป็นจริง ถ้าคุณแดงเป็นคนหรือมนุษย์ คุณแดงก็ต้องตายไม่วันใดก็วันหนึ่ง เป็นการใช้เหตุผลเชิงนิรนัย นอกจากนี้ในการคิดนั้นมีทั้งคิดจากปัจจัยภายนอก (ปรโตโฆษะ) และจากปัจจัยภายใน (โยนิสมนสิการ) ในการคิดหาเหตุผลต่างๆในการแก้ทุกข์

เมื่อเทียบกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นด้วยปัญหาจากสิ่งที่สงสัยใคร่รู้ กำหนดขอบข่ายในการศึกษาเทียบได้กับทุกข์และสาเหตุของทุกข์ เป็นทฤษฎีที่บอกให้ทราบว่าสาเหตุต่างกันก็ให้เกิดทุกข์ที่ต่างกัน ในทางวิทยาศาสตร์นั้นคิดได้ว่าการเกิดปรากฏการณ์ใดๆก็ต้องมีเหตุหรือที่มาของปรากฏการณ์นั้น หรือมีเหตุที่มาของการเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนต่อไปทางวิทยาศาสตร์คือวิธีการหาคำตอบ จากการคาดคะเนโดยกำหนดสมมุติฐานที่คิดว่าจะแก้ปัญหาได้ และขั้นต่อไปต้องกาวิธีการพิสูจน์ยืนยันโดยการทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล แล้ววิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่สนใจศึกษา แล้วสุดทท้ายสรุปผลว่าเป็นไปตามการคาดคะเนหาคำตอบหรือไม่ และให้ได้ข้อสรุปที่เป็นสามัญการ (generalization) ต่างกับวิธีการของพุทธองค์ที่รู้คำตอบแล้วจากการตรัสรู้ของพระองค์เป็นสามัญการแล้วดังในอริยะสัจสี่ ดังนั้นมรรคจึงเทียบได้กับบทที่ 3 ของงานวิจัย ดังนั้นสามารถคิดหรือเทียบเคียงให้อริยสัจสี่ได้กับระเบียบวิจัยที่ไม่ล้าสมัยยังทันกาลอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น