หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทุกช์และการดับทุกข์ในพุทธศาสนา

เพราะศาสนาพุทธกล่าวถึงเรื่องทุกข์ เป็นหลักการสำคัญและเน้นเป็นพิเศษ ดังจะเห็นว่าได้กล่าว่ถึงทุกข์ไว้หลายระดับ ในระดับที่กว้างและลึก ตั้งแต่ทุกข์ในไตรลักษณ์ที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งสิ่งที่ไม่มีความรู้สึก และที่มีความรู้สึกแบบคนและสัตว์ หรือกล่าวได้ว่า สิ่งทั้งสิ้นทั้งปวงนั้นไม่ว่าจะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรมจะอยู่ในลักษณะสามัญ 3 ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป ไม่มีตัวตนหรือไม่ใช่สิ่งที่จะต้องยึดถือ แต่ยังเป็นสิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้ ทุกข์จึงอยู่ในสภาวะที่ทนอยู่ไม่ได้ไม่สามารถที่จะทนอยู่ในสภาพเดิม


ทุกข์ที่ปรากฏในอริยสัจ ซึ่งเป็นธรรมนำไปสู่การตรัสรู้ ความสุขทางโลกในอริยสัจ หรือพื้นฐานจริงคือทุกข์ อาจกล่าวได้ว่าความสุขทางโลกนั้นอะไรก็ตามจะนำไปสู่ความทุกข์ อริยสัจจึงจัดเป็นความทุกข์เสียเลย ตัณหาอันเป็นมูลเหตุในความสุขดังกล่าวก็จัดรวมอยู่ในทุกข์ เป็นรากฐานของความทุกข์เป็นสมุทัยคือเป็นเหตุแห่งความทุกข์ ดังจะเห็นได้ว่าอะไรที่ สวยงาม หล่อ เทห์ ก็จบลงด้วย ความเก่า แก่ และเปลี่ยนสภาพไปในที่สุด ความเพลิดเพลินในอารมณ์ต่างๆ ความสนุกสนานต่างๆ ที่มนุษย์แสวงหา โดยนั่นคิดว่านั่นคือหนทางแห่งการดับทุกข์ แต่แท้ที่จริงเป็นเหตุของความทุกข์ เป็นทุกข์ที่คลุมอยู่ในขนธ์ 5 ซึ่งในทางโลกอาจจะกล่าวได้ว่ามีทั้งสุขทุกข์ คละเคล้ากันไป เพียงแต่ทำอย่างไรให้ทุกข์น้อยลงไปได้ก็คือว่ามีความสุขแล้ว

พุทธศาสนาเป็นศิลป์แห่งการลดความทุกข์ทุกระดับตั้งแต่ระดับในทางโลกไปสู่ ระดับแห่งความหลุดพ้น ถ้าศึกษา เข้าถึง ปฏิบัติอย่างถูกวิธี ที่จะให้ความทุึกข์ลดน้อยลงเรื่อยๆ ต้องถอนตัวออกจากทุข์ ดำรงชีวิตอยู่อย่างชีวิตเข้าไม่ถึง นั่นก็คือไม่เป็นทุกจากความแก่ ความเจ็บ และความตาย จากความพยายามของเองและจากความช่วยเหลือของตัวเอง และสุดท้ายต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ตามพุทธสุภาษิตที่ว่า ตนนั้นแหละเป็นที่พึ่งของตนเอง และหลักการที่ไม่ทำความดีละชั่วทำจิตใจให้สงบ พระพุทธเจ้าเคยกล่าวไว้ว่า “คนทำความชั่วหาความสุขได้ยาก และไม่มีกำลังใดเสมอด้วยกำลังกรรม” นั่นก็แสดงว่าถ้าอยากมีความสุขก็ต้องทำความดี ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสิ่งที่ดี

ความทุกข์ที่เกิดขึ้นมีทั้งความทุกข์ที่เกิดกับกายและใจร่วมกัน เป็นปฏิภาคกันความทุกข์กายก็ก่อให้เกิดทุกข์ทางใจ ทุกข์ทางใจก็ส่งผลให้เกิดทุกข์ทางกาย เมื่อพิจารณาถึงทุกข์ที่เกิดขึ้นในสังคมเราในปัจจุบัน นั้นอาจมองได้ว่ามีปัญหาของสังคมมากมาย ซึ่งกล่าวได้ว่าที่ไหนมีทุกข์ที่นั่นมีปัญหา และมีปัญหาที่ไหนที่นั่นก็มีทุกข์ ถ้าเราพูดว่ามีแต่ปัญหาก็แสดงว่าสังคมนั้นมีแต่ความทุกข์ได้เช่นกัน ถ้ามองในทางสุดโต่งตามหนทางแห่งการหลุดพ้นแล้ว ดังที่ภิษุณี วชิรากล่าวไว้ว่า “ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกช์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น