ไม่ว่าใครจะเกิดหรือสร้างมโนทัศน์เชิงบรรยายได้นั้น โดยอุปนัยหรือมโนทัศน์ทางทฤษฏีผ่านทางการขโมยความคิดผู้อื่น (abduction) รูปแบบทั่วไปของมโนทัศน์คงมีอยู่ ทั้งในแบบการสร้างเกิดมโนทัศน์ และการเปลี่ยนมโนทัศน์ ไม่ได้เป็นกระบวนการสองอย่างที่แตกต่างกัน แต่เป้าหมายสุดท้ายทั้งสองก็เป็นอย่างเดียวกัน
สำหรับเปียอาเจต์(Piaget) ทุกๆอาการของการแอสซิมิเลชั่น(assimilation) กับโครงสร้างการคิดร่วมด้วยกับการแอคคอมโมเดชั่น(accommodation)ของโครงสร้างนั้นๆ ไม่มีประสบการณ์การใดที่เหมือนกันเลย ดังนั้นการจะเกิดแอสซิมิเลชั่นสมบูรณ์จะไม่มีทางเป็นไปได้ เช่นเดียวกันการเกิดแอคคอมโมเดชั่นอย่างสมบูรณ์คาดได้ว่าไม่มีทางเกิดขึ้นได้เช่นกัน เพราะอาจคิดได้ว่าการจัดโครงสร้างทางความคิดเกิดขึ้นโดยปราศจากการนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการสร้างมโนทัศน์เป็นผลบั้นปลายที่เรามีการแอสซิมิเลชั่นเด่นเหนือการแอคคอมโมเดชั่น และการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์เป็นผลบั้นปลายที่เรามีการแอคคอมโมเดชั่นเด่นเหนือการแอสซิมิเลชั่น การได้มาซึ่งความรู้เชิงบรรยาย (declarative knowledge) นั้นเป็นกระบวนการสร้างขึ้นที่สูงมาก ซึ่งเป็นส่วนของความรู้เชิงกระบวนการ (Procedural knowledge)
Appleton (1989)ได้เสนอพื้นฐานทางทฤษฎีที่เป็นไปได้สำหรับ เป็นทางนำการปฏิบัติในการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งผสมรวมเอาแง่มุมหลายอย่างของทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivist theories) ที่เด่นๆทั้งจาก Piaget (1979) และ Osborne และ Wittrock (1983) ที่ให้เริ่มจากนักเรียนมีแนวคิดเดิมอยู่ในภาวะสมดุลย์ในครั้งแรก จะทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวกรองกับสิ่งที่จะเข้ามาใหม่ (ความรู้ มโนทัศน์) โดยกระบวนการมีการคัดกรองผ่านการเรียกใช้ (sorting through recall)
ในกระบวนการแอสซิมิเลชั่น (Piaget 1978) ผู้เรียนเห็นเข้าใจถึงชีมมาตาที่มีมีส่วนต่อการให้การอธิบายที่เพียงพอสำหรับประสบการณ์ หรือมีความไม่พอเพียงของประสบการณ์ที่จะอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ ผู้เรียนอาจรับรู้เข้าใจถึงชีมมาตาที่มีอยู่ที่ให้คำอธิบายที่เพียงพอสำหรับประสบการณ์ แม้ว่าผู้เรียนมีแนวคิดไม่ตรงสอดคล้องตามทัศนะของครูหรือตามความตั้งใจของครู ชีมมาตาที่ไม่เหมาะสมถูกนำไปใช้เพื่อการตีความประสบการณ์ หรือถ้าในบางแง่มุมของประสบการณ์ซึ่งะไม่สอดคล้องตรงกับชีมมาตาที่มีอยู่ นั้นก็จะเป็นเพียงการไม่สังเกตหรือละเลยไป ผู้เรียนอาจจะทิ้งสถานะการเรียนรู้ด้วยชีมมาตาที่มีอยู่ได้รับการเสริมแรง (Appleton,1989)ทางใดทางหนึ่ง การเรียนรู้ใหม่ที่่ครูประสงค์ให้เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น ผู้เรียนลักษณะนี้อาจสามารถใช้คำศัพท์ได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นสำหรับนักเรียนและผู้สอน นั้นดูเหมือนว่าจะเข้าใจในประสบการณ์ อยางไรก็ตามถ้าผู้เรียนย้อนกลับไปดูประสบการณ์ และรู้ถึงความบกพร่องไม่เพียงพอในชีมมาตาของพวกเขาแล้ว หรือไม่สอดคล้องอย่างเหมาะสมของสิ่งที่เข้ามายังแนวคิดที่มีอยู่เดิม ทำให้ผู้เรียนเคลื่อนไปสู่สถานะที่เรียกว่าการไม่สมดุลย์ (Appleton,1988)
สำหรับเปียอาเจต์ (1978) ภาวะไม่สมดุลย์เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนรู้ถึงชีมมาตาที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะอธิบายประสบการณ์ผลอันนี้ก่อให้เกิดความไม่ลงรอย อึดอัด ขัดแย้ง และมีความประสงค์ที่จะภาวะดังกล่าวแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประสบการณ์และชีมมาตา(Festinger,1975) Claxton(1990) เห็นถึงกระบวนการตามธรรมชาติของการเรียนรู้ ในเทอมของ Festinger ผลของการไม่สมดุลย์ (disequilibrium) นั้นเรียกว่า dissonance นั้นมักจะเป็นพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ โดยการทำให้ได้มาซึ่งสารสนเทศอื่นเพิ่มเติมลดความไม่สมดุลย์ไม่ลงรอยลงไป ขณะที่ผู้เรียนกำลังปรับเปลี่ยนชีมมาตาที่มีอยู่เดิม ขยายขอบเขตออกไป หรือเป็นการสร้างชีมมาตาใหม่ขึ้นมา (Osborn & Wittrock, 1983) การที่มีประสบการณ์หนึ่งใดในการแอคคอมโมเดชั่นตามที่เปียอาเจต์อธิบายนั้นอาจจะไม่เพียงพอสำหรับการเปลี่ยนแปลงหลักใหญ่ที่สำคัญต่อโครงสร้างทางความคิดของผู้เรียน ดังนั้นโครงสร้างใหม่จะต้องนำไปใช้ และได้รับการทดสอบในสถานะการณ์ต่างๆกันที่มีประโยชน์และสามารถใช้ได้ (Osborn & Wittrock, 1983) ผู้เรียนจะเข้าถึงแอคคอมโมเดชั่นโดยการปรับโครงสร้างแนวคิดที่มีอยู่ด้วยโครงสร้างแนวคิดใหม่ที่เหมาะสมขึ้นกว่าเดิมสำหรับผู้เรียนในการปรับเปลี่ยน (adaptation) และแล้วแนวคิดที่ผ่านมาของผู้เรียนตอนนี้ก็จะเปลี่ยนไป และกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลย์อีกครั้ง นั้นจะทำให้มีการปรับเปลี่ยนชีมมาตาที่เหมาะสมและมีการเชื่อมโยงระหว่างชีมมาตา
ในบางสถานะการณ์ที่ผู้เรียนกำลังหยุดรอเพื่อการปรับปรุงแก้ไขสารสนเทศที่ได้รับมา ซึ่งได้มาจากการอ่านหนังสือ จากครูและแหล่งอื่นๆ แล้วผู้เรียนอาจเรียนรู้โดยการท่องจำสิ่งที่รับนำเข้ามา ถือว่าเป็นแอคคอมโมเดชั่นที่ผิดพลาด เพราะว่าสารสนเทศที่เรียกลับมาเกือบทั้งหมดนั้น อยู่ในบริบทที่เหมือนกับที่ได้รับมาหรือที่จัดให้มา และไม่สามารถนำไปใช้ในบริบทอื่นๆ ตัวอย่างเช่นเมื่อนักเรียนเตรียมตัวในการสอบไล่ ผู้เรียนบางคนอาจไม่ได้พิจารณาถึงความพยายามที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการต่อไปว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าหรือไม่ (Festinger,1975) หรือออกจากประสบการณ์เรียนรู้
จุดประสงค์หลักของการสอนวิทยาศาสตร์คือการช่วยให้ผู้เรียนสร้างชีมมาตาใหม่ที่สัมพันธ์กับโลกกายภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น การสอนวิทยาศาสตร์ควรจะพยายามเพื่อสนับสนุนส่งเสริมในทิศทางการเคลื่อนไหวของผู้เรียนผ่านทางแอสซิมิเลชั่น สำหรับแก้ไขปรับเปลี่ยนการประยุกต์ใช้ชีมมาตา และลดการแอคคอมโมเดชั่นที่ผิดพลาด ป้องกันการออกจากการเรียนรู้ การสอนก็เป็นไปในทางที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจ การทำเช่นนี้จะปรับปรุงการเรียนรู้อย่างมีความหมายและการจำที่ดีกว่า ของความรู้เชิงบรรยาย และเพิ่มความสำนึกและความรู้เชิงกระบวนการโดยทั่วไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น