หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หุ้นตก กลโกง

ตลาดหุ้นเป็นกลไกในการระดมทุน เพื่อนำไปลงทุนในกิจการต่างๆ รวมทั้งการขยายกิจการ ถ้ากิจการใดได้รับความเชื่อถือ หรือดำเนินกิจการมีกำไร มีเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นก็ทำให้มูลค่าหุ้นสูงกว่ามูลค่าหุ้นขั้นต้นมาก ถือเป็นหุ้นที่น่าลงทุน แต่ถ้าเมื่อไรผู้บริหารของบริษัทมีการทุจริต หรือดำเนินการผิดพลาด ก็ทำให้ผลการประกอบกิจการตกต่ำก็ทำให้หุ้นราคาตกลงได้ ซึ่งการที่ราคาหุ้นตกหรือเพิ่มขึ้นนั้นอาจเกิดจากการทุจริต กลโกงก็เป็นไปได้ เช่นการปั่นหุ้น การเบียดบังทรัพสินของบริษัทไปเป็นต้น


สำหรับกลโกงที่จะดูดเงินของผู้ลงทุนรายย่อยไปสู่นักลงทุนรายใหญ่ ตั้งแต่การตกแต่งบัญชี ตกแต่งตัวเลขให้ดูดีโดยเจตนา ดูดเอาเงินบริษัทไปแบบสังเกตไม่เห็น ทำให้ดูไม่น่าเกลียด โดยทั่วไปผู้ลงทุนรายใหญ่มักเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเป็นซีอีโอ กลวิธีที่จะเอาเงินที่ลงทุนไปคืนรวมกำไรไว้ด้วย เป็นการกู้เงินแบบไม่ยอมใช้หนี้ ดังเช่น

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือบริษัท ก. ไปแอบเปิดบริษัท ข. และคณะกรรมการของบริษัท ก.ก็เป็นพวกเดียวกันที่มีเสียงข้างมากเป็นธรรมดา อาจมีมติให้ไปลงทุนในบริษัท ข.ที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพไม่เป็นที่เปิดเผยตัวนัก ที่จริงแล้วบริษัท ข.ก็ไม่น่าลงทุนเลยแต่ก็เอาไปลงทุน แท้ที่จรืงบริษัท ข.ก็เป็นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เท่ากับได้เงินลงทุนตั้งแต่แรกกลับคืนมา

นอกเหนือจากเงินปันผลแล้ว สมมุตินาย D เป็นผู้ก่อการบริษัท มีการเสนอเงินเดือนให้นาย D สูงลิ่ว บวกรถประจำตำแหน่ง ค่ารับรอง ค่าที่พักหรือคอนโด ค่าประกันชีวิต ค่านันทนาการ ค่าประกันสุขภาพ ค่าสมาชิกคลับกีฬาก๊อฟ…เรียกกันว่า Perks รวมทั้งสิทธิพิเศษในการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด นาย D และพวกมักก่อตั้งบริษัทส่วนตัวจำนวนมากทำธุรกิจวนเวียนอยู่กับบริษัทก. และเรียกเก็บบริการไม่ว่าจะทำงานให้บริษัท ก.ไม่ว่าจะทำงานให้จริงหรือไม่ในราคาแพงสุดๆ บริษัท ก.อาจมีบริษัทลูกมากมาย นาย D และพวกบริหารหลายบริษัทก็ได้เบี้ยประชุมมากมาย

ที่ขี้โกงหนักๆ เช่นบริษัท ก.เช่าอาคารที่เป็นสมบัติส่วนตัวของนาย D สัญญาเช่า40 ปี และจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 40 ปีแก่นาย D ด้วย และถ้าบริษัทส่วนตัวของนาย D และพวกชื้อสินค้ากับบริษัท ก. ก็จะเป็นราคาที่ต่ำมาก แต่ถ้าขายทรัพสินให้บริษัท ก.ก็จะเป็นราคาที่สูงมากๆ

ที่กล่าวมานั้นอาจเป็นสาเหตุให้บริษัทล้มลงขาดสภาพคล่อง ถ้าเมื่อใดที่เศรษฐกิจตกต่ำเป็นต้มยำกุ้ง หุ้นตกจนไม่มีราคาได้ และการดูแลงบการเงินเข้าสู่การล้มละลาย หรือมีการปรับโครงสร้างหนี้หลังวิกฤตเศรษฐกิจ แล้วจะเห็นได้ชัดว่าผู้บริหารเหล่านั้นเกิดมามีบุญวาสนา ที่ล้มบนฝูก ที่สุดท้ายคนทั่วประเทศจะเป็นผู้รับภาระหนี้ของคนเหล่านี้ด้วยภาษีอากร ซึ่งถ้าตรวจสอบอย่างละเอียดแกะรอยเส้นทางเดินของเงินสด การลงบัญชี ข้อมูลรอบข้าง ก็จะเจอ แต่เสียเวลามากไม่ค่อยมีใครอยากทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น