หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

ความคิดที่ช่วยแก้ปัญหา

ก็คงต้องย้อนไปในเรื่องการพัฒนาการการหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ที่มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหา ซึ่งมีที่มาทางทฤษฏีที่เสนอโดย Inhelder และ Piaget ที่กล่าวว่ากระบวนการคิดในเด็กเปลี่ยนจาก ความเป็นจริงไปสู่สิ่งที่เป็นไปได้ หรือเทียบเคียงได้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม (concrete to formal) หรือคิดจากรูปธรรมไปสู่การคิดแบบนามธรรม ใครที่แสดงตัวว่าคิดแบบนามธรรมได้แล้วสามารถนำไปใช้เมื่อแก้ปัญหาใดๆ ลักษณะการคิดแบบนามธรรมประกอบด้วย 6 ลักษณะคือ
(1) การคิดหาเหตุผลความถาวรของปริมาณจะไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะเปลี่ยนขนาดรูปร่างไป เป็นรากฐานในการหาเหตุผลเชิงตัวเลข ที่จะทำให้คิดได้อย่างมีเหตุผล

(2) การหาเหตุผลทางสัดส่วน ที่สามารถหาได้ว่าเมื่อเทียบเคียงกับปริมาณอื่นแล้วเที่ยบได้เป็นกี่ส่วนอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า

(3) การควบคุมตัวแปร สามารถแยกแยะและควบคุมแต่ละตัวแปรของปัญหา หรือควบคุมให้ตัวแปรที่ต่างออกไปคงที่ ขณะที่อีกตัวแปรไม่คงที่

(4) การหาเหตุผลการหาทางที่เป็นไปได้มากที่สุด โดยสามารถที่จะพิจจารณาทุกทางที่เป็นไปได้ในแต่ละสถานะการณ์

(5) การหารเหตุผลของโอกาสความน่าจะเป็น สามารถที่จะเห็นความแตกต่างจากความแน่นอน โดยที่โอกาสความน่าจะเป็นและความเป็นไปได้สามารถหาโอกาสความน่าจะเป็นได้

(6) การหาเหตุผลความสัมพันธ์ ซึ่งให้ความหมายเป็นรูปแบบการคิดที่มีส่วนที่ร่วมกันหรือกลับกันมากน้อยเพียงใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น