จากปรากฏการที่เราคุ้นเคยที่มองเห็นวงแสงรอบดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์ จากการศึกษาจากการสังเกต และการสร้างแบบจำลองการเกิดทรงกลดได้ พบว่าเกิดจากผลึกน้ำแข็งเล็กๆ ในบรรยากาศ จากการหักเหแสง และการสะท้อนแสง จากผลึกน้ำแข็งที่อยู่ในเมฆ เพื่อจะหาว่าทรงกรดเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อไร และที่ไหนที่จะพบได้ในท้องฟ้า
ทรงกรดที่มักเกิดขึ้นโดยทั่วไปในท้องฟ้า เป็นทรงกรด 22 องศา นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดปมแสงสว่างสองของที่เรียกว่า sundogs ลำแสงในแนวดิ่ง (pillars) และอื่นๆ
ทรงกรดเกิดขึ้นในท้องฟ้าบ่อยกว่าการเกิดรุ้งกินน้ำโดยประมาณ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ซึ่งดวงอาทิตย์ห้อมล้อมด้วยวงแสงรัศมี 22 องศา ซึ่งสามารถมองเห็นได้ทั่วโลกตลอดปี สำหรับผู้ดูต้องระวังถนอมดวงตาไม่มองไปที่ดวงอาทิตย์โดยตรง ส่วนใหญ่มักจะเกิดเมื่อท้องฟ้ามีลักษณะคล้ายหมอกบางๆ ประกอบด้วยเมฆเซอร์รัส ซึ่งเมฆชนิดนี้เย็นและประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งแม้ว่าจะอยู่ในภูมิอากาศที่ร้อนที่สุดก็ตาม
ขนาดของวงแสงทรงกลดให้สังเกตโดยยืนแขนออกไปกางนิ้วมือออกด้วย โดยปลายหัวแม่มือปลายนิ้วก้อยจะคร่อมมุมประมาณ 20 องศา โดยวางหัวแม่มือที่ตำแหน่งดวงอาทิตย์ และขอบวงแสงจะอยู่ที่ปลายนิ้วก้อย วงแสงทรงกลดจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากันเสมอไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งใดของท้องฟ้า บางครั้งอาจมองเห็นเพียงส่วนของวงกลม และบางครั้งยังปรากฏวงแสงสีรุ้งรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ซึ่งเกิดจากหยดน้ำแทนที่จะเป็นผลึกน้ำแข็ง
ปรากฏการณ์นี้ไม่จำเป็นว่าจะทำนายการเกิดฝน เมฆในระดับสูงพวก cirrostratus ก็เป็นตัวก่อให้เกิดทรงกลดได้ เคลื่อนตัวไปตามแนวปะทะอากาศอุ่นซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดฝน เช่นเมื่อมีลมหมุนวนท้องฟ้าจะเต็มปกคลุมด้วยหมอก เกิดทรงกลดรอบดวงอาทิตย์ แล้วค่อยจางไปเนื่องจากการเพิ่มความหนาของเมฆ แล้วมีความโน้มเอียงว่าจะเกิดฝนได้ในอีกสองสามชั่วโมง แต่ทรงกรดจำนวนมาก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแนวปะทะอากาศ การมองเห็นทรงกลดจึงไม่ได้เป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงลักษณะอากาศที่ไม่ดี แต่เป็นความสวยงาม มักจะเชื่อกันว่าเป็นฤกษ์ดี
เมื่อมองไปที่พระอาทิตย์ทรงกลด ให้ป้องกันตาจากความเข้มของแสงโดยใช้นิ้วหัวแม่มือหรือวัตถุงางอย่างบังส่วนที่เป็นดวงอาทิตย์ หรือแว่นกันแดด อย่าจ้องไปใกล้กับด้วงอาทิตย์แม้เพียงชั่วขณะก็ตาม และต้องระมัดระวังเมื่อมองผ่านกล้องถ่ายรูปถ้ามองภาพเลนซ์กล้องโดยตรง โดยเฉพาะกล้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น