มีอยู่บ่อยครั้งที่เมื่อเกิดไฟไหม้แล้วมักจะคาดคะเนว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งในความเป็นจริงอาจจะเกิดเนื่องจากสาเหตุอื่นที่ไฟฟ้าไม่ลัดวงจรก็ทำให้เกิดไฟไหม้ได้
ปกติการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเกิดจากการที่สายไฟบ้านที่มีต่างศักย์หรือแรงดันไฟฟ้าต่างกันมาแตะกัน โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เช่นต้นไม้หรือกิ่งตั้นไม้ล้มหล่นทาบสายไฟสองสายดังกล่าว งูเลื่อยผ่านสายที่เปลือยสองสายดังกล่าว สำหรับภายในอาคารโอกาสที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือที่เรียกว่าไฟชอร์ตนั้น อาจเกิดจากสาเหตุความบกพร่องของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุบัติเหตุเช่นหนูกัดสายไฟแล้วอาจเป็นไปได้ว่า ทำให้สองสายมาแตะกัน การลัดวงจรในลักษณะดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้วฟิวส์ที่ใช้ป้องกันไฟฟ้าผ่านเกินขนาดจะขาด จากนั้นเราต้องหาสาเหตุที่ทำให้ฟิวส์ขาดและแก้ไขให้เป็นปกติ
ในบางครั้งอาจจะมีอาการลัดวงจรแต่ไม่ทำให้ฟิวส์ขาด หรืออุปกรณ์ป้องกันเช่นเซอร์กิตเบรคเกอร์ไม่ตัดวงจร แต่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ เสียหายไปหรือชอร์ตจนตัดวงจรไปเลย เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นก็หยุดการทำงาน
ในบางกรณีที่เมื่อเราถอดเสียบปลั๋กออกจากเต้ารับแล้วมีประกายไฟเกิดขึ้นนั้นมีอยู่บ่อยครั้งนั้น เป็นสัญญาณบอกให้เราทราบว่าหน้าสัมผันระหว่างปลั๊กเสียบและเต้ารับนั้นอาจไม่สะอาดหรือไฟฟ้าเคลื่อนผ่านได้ไม่สะดวกเกิดความต้านทานไฟฟ้าขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความร้อนสูงถึงจุดสันดาปได้ถ้ามีเศษเชื้อไฟอยู่ในบริเวณที่ปลั๊กดังกล่าวอยู่ด้วยก็ทำให้เกิดไฟไหม้ได้ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำไมจึงมีคำแนะนำไม่ควรเสียบปลั๊กที่เต้ารับหลายเครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกัน เพราะมีโอกาสมากที่จะเกิดความร้อนสูงที่ปลั๊กที่กำลังเสียบใช้งานอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งปลั๊กเสียบและเต้ารับที่คุณภาพไม่ได้มาตรฐานที่มักจะหลวมหน้าสัมผัสแตะกันบ้างไม่แตะบ้างมักจะมีปัญหาเกิดประกายไฟ (บางครั้งเมื่อปลั๊กสั่นสะเทือนก็จะเกิดอารอาร์คหรือสปาร์ และความร้อนสูงที่ทำให้ไฟลุกไหม้ได้
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน ควรเลือกใช้ปลั๊กเต้ารับที่มีคุณภาพดี และควรมีฟิวส์ป้องกันอีกชั้นหนึ่งด้วย และทำความสะอาดปลั๊กตัวเสียบไม่ให้มีสนิมจับ ซึ่งจะช่วยให้ไม่เกิดความร้อนสูง หรือเลือกปลั๊กที่มีสวิตช์ หรือปิดสวิตช์ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนทุกครั้ง เพราะถ้าดึงปลั๊กขณะยังใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ก็จะเกิดอาการสป๊าร์คเกิดประกายไฟได้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น