ปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในประเด็นการสอนวิทยาศาสตร์ เป็นความสำคัญที่ชัดเจนที่จะมีมโนทัศน์ที่มากพอว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเชิงวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร ปรัชญาทางวิทยาศาสตร์โดยหลักๆ เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ทางวิทยาศาสตร์อันเป็นบ่อเกิดของความรู้นั่นเอง เกี่ยวข้องกับความสำคัญที่จะทำให้แน่ใจว่านักเรียนวิทยาศาสตร์มีเหตุผลที่ดี หลักฐานสนับสนุนอื่นๆให้กับความเชื่อของตัวเอง
ในทำนองเดียวกันนักเรียนไม่ควรที่จะเรียนรู้เพียงผลรวมความจริงทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนควรจะได้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ นักเรียนต้องไม่เพียงแต่พัฒนาตรรกะและทักษะการหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่ยังให้พัฒนาทักษะในการสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสอนองค์คาพยบทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจว่าทำไมวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น และวิทยาศาสตร์ก้าวเข้ามาคิดเช่นนั้นได้อย่างไร
ในการตั้งเกณฑ์สำหรับบอกว่าอะไรที่เป็นความรู้เชิงกระบวนการที่สำคัญที่จะสอนนักเรียนนั้น ทัศนะบ่อเกิดของความรู้ว่าการเรียนรู้เนื้อหามีอิทธิพลต่อการสร้างความรู้โดยนักเรียนอย่างไร จากพื้นฐานต่างๆกันเป็นสิ่งสำคัญ โดยการเข้าใจขั้นตอนกระบวนการของปรับโครงสร้างของวิทยาศาสตร์ ครูจะต้องมีพันธะสัญญากับหลักฐาน วิธีการสังเกต เป้าหมายและ การพัฒนาการแนะนำทางว่าความรู้เชิงอธิบายและเชิงกระบวนการควรจะรวมอยู่ในแผนจัดการเรียนรู้อะไรอย่างไร ในการวางแผน การนำไปใช้ การประเมินผลหลักสูตรวิทยาศาสตร์
คำอธิบายทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความคิด ของความรู้ของแต่ละบุคคลมีอยู่ที่คล้ายคลึงกับนักปรัชญาหลายคนได้เสนอทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ทั้งแนวทางปรัชญาและจิตวิทยาต่างก็เสนอแหล่งทรัพยากรสำหรับการสอนให้เปลี่ยนมโนทัศน์ ปรัชญาวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการที่คนจะสร้างคำอธิบายที่มีประโยชน์เกี่ยวกับวัตถุธรรมชาติ และเหตุการณ์ใช้แนวทางวิทยาศาสตร์ในการรู้ต่างๆ นักจิตวิทยาเกี่ยวกับการคิดในอีกทางหนึ่งเกี่ยวข้องกับว่าแต่ละบุคคลสร้างความเข้าใจกับโลกรอบตัวของพวกเขา ทั้งสองทัศนะมีประโยชน์ในการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ควรสอนและเรียนรู้ ขณะที่จิตวิทยาชอบที่จะใช้คำความรู้สำหรับความเข้าใจของมนุษย์ ส่วนปรัชญาชอบที่จะใช้คำว่าความเชื่อมากกว่า ตามทัศนะทางปรัชญามีประโยชน์เพราะช่วยให้เราเข้าใจว่าอะไรเป็นความรู้ของแต่ละบุคคล (เหมือนกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์) ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยตลอดและวิวัฒนาการไปตามประสบการส่วนบุคคล และดังน้นจึงไม่สามารถพิจารณาให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์หรือเป็นคำตอบสุดท้าย
การเรียนรู้ของนักเรียนเกี่ยวข้องกับการสร้างมโนทัศน์และระบบมโนทัศน์ใหม่ในครั้งแรก การเปลี่ยนโครงสร้างทางความคิดที่มีข้อบกพร่องผิดพลาด และการพัฒนาสภาพนามธรรมให้มากยิ่งขึ้น จากพื้นฐานประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาหลักการทางนามธรรมโดยการสังเกตอย่างละเอียดระมัดระวังของเหตุการและวัตถุทางธรรมชาติ ผู้เรียนควรจะได้เริ่มจากปรากฏการทางธรรมชาติที่ในที่สุดนำไปสู่ความเข้าใจความคิดทางวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น