หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิทยาศาสตร์กับศาสนาตามแนวคิดของไอน์สไตย์

เขาได้ให้ความหมายของคำว่าวิทยาศาสตร์ว่าเป็นความอุตสาหะเป็นเวลายาวนานนับศตวรรษที่จะรวบรวมปรากฏการธรรมชาติที่สัมผัสได้มาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ให้มีความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างชัดเจนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กล่าวอีกอย่างวิทยาศาสตร์นำมาอธิบายถึงสาเหตุของการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ โดยสามารถที่จะสร้างภาพเหตุการณ์ของสิงนั้นๆ ขึ้นอย่างมีระบบ กระบวนการ และมีหลักเกณฑ์

เมื่อพูดถึงความหมายของศาสนานั้นเขายอมรับว่ายากที่จะกำหนดให้เป็นคำตอบสากลใช้ได้ในทุกสถานะการณ์อย่างแน่นอน แต่ได้อธิบายบุคคลผู้มีความศรัธาและมีความเคร่งครัดในศาสนา เป็นผู้มีความเชื่อมั่นสูงสุดในศาสนา และจะปลดปล่อยตนเองจากพันธนาการของกิเลสแห่งความยึดมั่นในตัวตน ในความเห็นแก่ตัว และเก็บตัวเองอยู่ในภวังค์ของความคิด

ศาสนาจะเป็นตัวกำหนดจุดหมายสูงสุดแห่งการดำรงอยู่ของมนุษย์ โดยภาพรวมแล้วศาสนาก็ต้องเรียนรู้จากวิทยาศาสตร์ในวิธีการที่ใช้เพื่อบรรลุจุดหมายที่ได้กำหนดไว้ ขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์ที่สร้างสรรขึ้นต้องอาศัยผู้มี่มีความซาบซึ้ง ความเชื่อในความจริง และความเข้าใจที่ลึกซึ้งมั่นคงลักษระดังกล่าวนี้มาจากศาสนา มีความเชื่อความศรัธาว่ากฏเกณฑ์ทั้งหลายซึ่งควบคุมการดำรงอยู่เป็นกฏที่มีเหตุผล มีความเป็นไปได้ ทำให้มองภาพไม่ออกว่านักวิทยาศาสตร์ที่จะมีวิญญาณที่แท้จริงแต่ไร้ศรัธาที่ลึกซึ้งมั่นคง เขากล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาย่อมมีขาเป็นง่อย ศาสนาที่ไร้วิทยาศาสตร์ย่อมบอดสนิท

ในยุคต้นของวิวัฒนาการทางจิตวิทยาของมนุษย์ชาติ ความเพ้อฝันของมนุษย์ได้สร้างภาพลักษณ์ของเทพเจ้าต่างๆ ขึ้นเลียนแบบสรีระของตนเอง โดยให้เทพเจ้ามีอภินิหาร มหิทธานุภาพเหนือธรรมชาติ มนุษย์เปลี่ยนแปลงความศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้าตามความต้องการของตน โดยอาศัยเวทมนต์และการสวดอ้อนวอน แนวคิดของพระเจ้าในศาสนาตามที่สอนกันมาในปัจจุบัน เป็นสิ่งกลั่นกรองและคั้นมาจากมโนทัศน์เดิมของเทพเจ้านั่นเอง และมนุษย์มีพฤติกรรมที่ร้องขอความคุ้มครองจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผ่านบดสวดและบทภาวนาอ้อนวอนให้ความฝันของตนเป็นจริง

ไม่มีใครปฏิเสธแนวคิดของการดำรงอยู่ของพระเจ้า ในรูปที่ผู้ทรงดำรงอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งทุกขณะของเวลา ช่วยชี้นำชีวิตช่วยเหลือ และปัดเป่าความทุกข์ให้วิญญาณมนุษย์ผู้ต่ำต้อย เป็นความคิดเรียบง่ายที่สามารถยอมรับได้โดยคนทุกประเภท การพิจารณาอีกนัยหนึ่งกลับไม่สมเหตุสมผล เมื่อพิจารณารูปของพระเจ้าจะทรงไว้ซึ่งความเป็นนิรันดร์แล้ว เหตุการณ์ทุกอย่าง พฤติกรรมทุกอย่าง ความคิดและความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ย่อมเป็นผลงานของพระเป็นเจ้าพระองค์นั้นด้วยเช่นกัน เป็นแบบนี้แล้วทำไมมนุษย์จึงต้องก้มหน้ารับผิดชอบและไถ่บาปอ้นเนื่องมาจากการกระทำและความคิดนั้นต่อหน้าพระเจ้าในการลงทัณฑ์และปูนบำเหน็จรางวัลแก่ผู้ซื่อสัตย์ของพระองค์ ย่อมสมควรที่พระองค์จะผ่านคำตัดสันนั้นไปสู่พระองค์เองด้วย และเมื่อเป็นเช่นนี้ คำสรรเสริญเกี่ยวกับความดี และความยุติธรรมของพระเจ้าจะอธิบายได้อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น