หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กระบวนทัศน์ใหม่ในการบำบัดโรค

ความก้าวหน้าทางด้านชีววิทยา ที่มีแขนงวิชาเช่นชีววิทยาระดับไมโคร (microbiology) วิศวพันธุศาสตร์ ซึ่งรวมแล้วจะเป็นเทคโนโลยีชีวิภาพ (Biotechnology)ซึ่งแน่นอนว่าได้แทรกเข้ามาในการบำบัดโรค เช่นในเรื่องของการตัดต่อพันธุกรรม ที่คาดว่าสามารถนำมาใช้ในการบำบัดและป้องกันโรค และเมื่อไม่กี่ปีมานี้ การศึกษาในเรื่องเซลล์ต้นกำเนิด (stem cells) ที่สามารถจะไปปลูกถ่ายอวัยวะที่เสียไป หรือใช้การไม่ได้ให้สามารถใช้งานได้อีก ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแนวคิด เพราะเห็นว่ารูปแบบเก่าของความคิดยังมีข้อผิดพลาดยังไม่มีความสมบูรณ์หรือมีผลข้างเคียง เมื่อมีทฤษฏีใหม่ที่มีเหตุผลดีกว่า ถูกต้องมากกว่า ทำให้มีความโน้มเอียงที่จะยกเลิกแนวคิดวิธีการเก่า หรือล้มเลิกไป การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้เรียกว่าการเปลียนกระบวนทัศน์ (Paradigm shift)


การบำบัดรักษาโรคที่ผ่านมาโดยเฉพาะโรคที่สำคัญๆ หลายอย่างนั้นอาจใช้วิธีการผ่าตัด บำบัดทางเคมี เช่นโรคเบาหวาน อัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง โรคไขข้อ ฯลฯ การบำบัดรักษายังไม่สามารถที่จะให้ผลดีเหมือนเดิม ซ้ำยังมีผลข้างเคียงและมีความเสี่ยง ดังเช่นคนเป็นโรคเบาหวานต้องตัดขา คนเป็นโรคหัวใจอาจต้องใส่อวัยวะเทียมช่วยแต่ก็อยู่ได้ไม่นาน คนเป็นมะเร็งบำบัดด้วยเคมีและผ่าตัดมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและไม่หายขาด

และแล้วแนวคิดในการบำบัดโรคใหม่ได้แก่การใช้เซลล์ต้นกำเนิด(stem cells) อันเป็นเซลที่ได้จากการปฏิสนธิในไข่ และต่อมาสามารถใช้เซลในถุงน้ำครำ และเซลในไขกระดูกเป็นต้น ซึ่งเซลพวกนี้สามารถที่จะจัดให้เติมโตไปเป็นเซลล์ที่เสียหาย เช่นเส้นเลือด เส้นประสาท หรือใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ จนนักวิจัยเริ่มประกาศออกมาแล้วว่าผลการศึกษาทำให้ ผู้เป็นเบาหวานที่แผลขาดเลือดก็ไม่จำเป็นต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นเช่นขา ใช้บำบัดประสาทตาช่วยให้ตามองเห็นได้ บำบัดคนเป็นโรคความจำเสื่อมเป็นต้น

แม้ว่าในทางการแพทย์จะยังไม่รับรองการรักษาโดยวิธีนี้ แต่ใช้กับรายที่เห็นว่าหมดความหวังแล้วและสมัครเข้าโครงการ ขณะนี้การรักษายังอยู่ในการวิจัยเป็นส่วนใหญ่ ปรากฏว่าผลการวิจัยทำให้อาการดีขึ้น และไม่ต้องผ่าตัด ในหลายโรค เทคโนโลยีการรักษาโรคแบบนี้ ประเทศไทยก็มีความก้าวหน้าที่ได้ไปจดลิขสิทธิ์ไว้ ซึ่งนำมาใช้แล้วในบางโรงพยาบาลเช่นการรักษาโรคเบาหวาน

จากแนวคิดนำเซลล์ต้นกำเนิดน่าจะมีทางที่เป็นไปได้ ทั้งนี้เพราะเซลล์ต้นกำเนิดนั้นพร้อมที่จะเติบโตเป็นอวัยวะต่างๆ ได้ การให้จัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ให้สารเคมี และความร้อนที่เหมาะสมต่อการเป็นอวัยวะต่างๆ เซลล์ต้นกำเนิดก็สามารถปลูกถ่ายเป็นอวัยวะต่างๆ ได้ แต่อาจจะไม่ถึงขั้น ที่อวัยวะงอกออกมาได้เช่นเดียวกับจิ้งจก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น