หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การจัดการความรู้เทคโนโลยีทางการศึกษาตอน1

การจัดการความรู้ในรูปที่เป็นกระบวนการ เป็นกลุ่มของซอพท์แวร์และเทคโนโลยี ในการจัดการความรู้มีโปรแกรมที่ดำเนินการ มีแนวทางโดยตลอดเป็นเสมือนจุดอ้างอิง กรอบความคิดกว้างๆ ก็คือ


การสร้างความรู้ เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลเป็นความรู้ใหม่

การจับเอาความรู้มาในทุกรูปแบบ ความรู้ที่ชัดเจน ซึ่งรวบรวมความรู้ได้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย สามารถมารถนำมาใช้ได้กับคนจำนวนมาก

การจัดระบบความรู้ โดยมีกิจกรรมที่แบ่งประเภทความรู้ จุดกลุ่มความรู้เพื่อการบันทึก การเรียกมาใช้ รวมทั้งการปรับปรุงดูแลข้อมูล เช่นเดียวกับการจัดทำดัชนี แผนที่ และกระบวนการที่จะจัดการอย่างไร

การเข้าถึงความรู้ เป็นกิจกรรมที่กระจายความรู้ไปยังผู้ใช้แต่ละคน หรือจากการร้องขอของแต่ละบุคคล

การใช้ความรู้ เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจกรรมทางการศึกษา การตัดสินใจ และโอกาสที่สามารถเสาะหาไขว้คว้า

ในสถาบันการศึกษาของเรามีการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และเราก็ยังมีความรูเดิมอีกจำนวนหนึ่ง และที่รวบรวมความรู้จากแหล่งอื่นๆ จากคู่แข่ง จากผู้ผลิตความรู้ในโลก ความท้าทายไม่เพียงแต่ในการสร้างความรู้ แต่ยังรวมถึงการรู้ถึงการแปลงความรู้อยู่ในรูปของดิจิทัล การจัดองค์กร และทำให้ความรู้อยู่ในรูปของอิเลคทรอนิกส์เพื่อให้ใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มคนที่เลือกจัดการและใช้ความรู้นั้น ซึ่งก็คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาใช้ได้ นำมาแก้ปัญหาได้

ชนิดของความรู้รวมทั้งภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความรู้ รับจับความรู้ การจัดระบบ และสุดท้ายเข้าถึงและใช้ความรู้ แน่นอนว่าในโลกนี้มีความรู้อยู่มากมายมหาศาล ที่สามารถนำเข้าไปในระบบจัดการความรู้ จัดให้กับทางการศึกษา ทางที่ดีที่สุดเมื่อพูดถึงประเภทของความรู้โดยมองผ่านเลนซ์ความรู้ทางการศึกษาที่มีอยู่ ทั้งที่รวมอยู่ในแบบดิจิทัลและไม่ใช้ดิจิทัล

ข้อมูลที่ไม่อยู่ในรูปดิจิทัล รวมทั้งข้อมูล สารสนเทศที่เป็นบันทึกเล็คเชอร์ของทั้งครูนักเรียน บันทึกการวิจัย งานเขียนบทความวิชาการ เอกสารแจกในชั้นเรียน หนังสือ วารสาร วิดีโอเทป เทปเสียง และสารสนเทศอื่นที่ไม่อยู่ในรูปดิจิทัล

ข้อมูลที่เป็นดิจิทัล ในรูปของเว็บเพจหรือ html ไฟล์การนำเสนอแบบเพาเวอร์พอยน์และมัลติมีเดียรูปแบบอื่นๆ การประมวลผลคำและเอกสาร โดยมีซอพท์แวร์สำหรับประมวลผลคำเช่นเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ไฟล์เสียงหรือเวฟไฟล์ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ฐานข้อมูลวิจัยแบบซีดีรอม และแบบออนไลน์ วิดีโอไฟล์ กระดานข่าวต่างๆ แหล่งสารสนเทศอื่นใดๆ ในรูปดิจิทัล

ปกติแล้วอาจจะมองการจัดการความรู้ในระดับของการศึกษาเป็นแนวทางของระบบปิดพื้นฐานที่จะแยกระดับชั้นทั้งแหล่งข้อมูลที่เป็นดิจิทัลและไม่เป็นดิจิทัล กล่าวอีกอย่างหนึ่งจุดที่มุ่งเน้นจะครอบคลุมความอุปภัมภ์ของสถาบันในตัวเอง อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญที่ก้าวหน้าในการใช้ระบบการจัดการความรู้ในทางการศึกษาคือการแยกระดับแบ่งชั้น ไม่เพียงแต่ทุนความรู้ของสถานศึกษาเท่าจากทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงชุมชนธุรกิจ ขณะที่ตามกฏของ Metcalf (Bob metcalf ผู้ประดิษฐ์คิดค้นอินเตอร์เนต) ได้กล่าวไว้ว่าคุณค่าของเครือข่ายของสื่อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนกำลังสองของจำนวนผู้ใช้ การจัดการความรู้ได้ออกแบบขึ้นมาจากการที่เริ่มเป็นเครือข่ายของสื่อ และนำมาใช้ทางการศึกษา ซึ่งควรจะได้ออกแบบ ประยุกต์ และใช้ให้เป็นไปตามที่ออกแบบนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น