การศึกษาศาสนาพุทธตามวิถีทางวิทยาศาสตร์ นำเอาเวทนามาเป็นวัตถุศึกษา ถือเป็นเรื่องระดับเดียวกับวัตถุธรรม คิดให้เป็นระบบจิตใจ(metality) ที่เกี่ยวเนื่องอยู่กับร่างกาย ถือเป็นเรื่องเดียวกันกับร่างกาย (พุทธทาส,เหนือวิทยาศาสตร์) และที่สูงขึ้นไปของระบบทางจิต เป็นเรื่องของสติปัญญาล้วนๆ เป็นจิตวิญญาณ (spiritual) พูดง่ายๆคือท่านพุทธทาสให้ศึกษาจิตกับกายไปพร้อมๆกันดังในขันธ์ 5 รูปก็คือกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หลังสุดก็คือจิต วัตถุศึกษาก็คือขันธ์ 5 นั่นเอง
ญาณทัศนะที่เป็นปัญญาใช้ศึกษารูปร่างกายที่เป็นวัตถุ ศึกษาจิตในเรื่องเกี่ยวกับจิตใจหรือความรู้สึกของจิตในลักษณะที่เกี่ยวเนื่องกับวัตถุ แต่คำที่พูดมักจะพูดกันว่า กาย จิต และวิญญาณ คำว่าวิญญาณหลังสุดไม่ใช่เรื่องของจิต ไม่ใช่วิญญาณในขันธ์ 5 (พุทธทาษ) ซึ่งใช้คำว่าจิตวิญญาณ โดยท่านพุทธทาษยกเปรียบเทียบให้เห็นคือ เมื่อป่วยทางจิตก็ไปหาหมอโรคจิต เป็นโรคทางวิญญาณต้องไปหาพระพุทธเจ้า โดยศึกษาให้รู้ว่ากิเลสคืออะไร ความทุกข์คืออะไร อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ในทางพุทธศาสนาถ้ายังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็ยังเป็นโรคทางวิญญาณอยู่ทั้งสิ้น คือถ้าระบบจิตวิญญาณเราเสียไปก็จะเกิดอาการโง่ในเรื่องของการดับทุกข์ ในภาษาบาลีใช้คำว่าจิตแทนวิญญาณ
เมื่อเอาเวทนาหรือความรู้สึกเป็นวัตถุศึกษา เช่นเดียวกับที่วิทยาศาสตร์นำเอาวัตถุต่างๆ มาศึกษา โดยความรู้สึกของคนแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คนทั่วไปจะรู้จักกันดี 3 ประเภทคือสุขเวทนา ทุกขเวทนาและอสุขอทุกขเวทนา ท่านพุทธทาษได้เปรียบเทียบสุขเวทนาเป็น”กูได้กำไร” ทุกขเวทนาว่า “กูขาดทุน” และอสุขอทุกขเวทนาว่า “กุเสมอตัว”
ส่วนประเภทที่ 4 คือนิพเพธิกะพาติยะสัญญา เป็นความรู้ที่เห็นแจ้งแทงตลอดสามประเภทแรกข้างต้นว่า ทุกขเวทนาทำเกิดโทษะ สุขเวทนาทำให้ดีใจลิงโลดเกิดโลภะ ส่วนอทุกข์อสุขก็ยังลังเลสงสัย ยังมีหวังเกิดโมหะ สำหรับในประเภทที่ 4 นั้นทำให้รู้ว่ายังโลภ โกรธ หลง หรือ โลภะ โทษะ โมหะไปตามเวทนาเหล่านั้น
จากการที่ท่านพุทธทาสเปรียบเทียบทุกขเวทนาว่าเป็นการขาดทุน สุขเวทนาเป็นการได้กำไร และอทุกข์อสุขเวทนาว่าเสมอตัว โดยคนทั่วไปจะยินดีเมื่อได้กำไร เสียใจเมื่อขาดทุน ยังมีความหวังต่อไปเมื่อเสมอทุน ในประเด็นหลังสุดอาจเทียบเคียงได้กับโชคร้าย โชคดี และที่เป็นกลางๆ ไม่ถึงกับโชคดีหรือโชคร้าย และทั้งสามดังกล่าวนั้นถือว่ายังไม่มีอะไรดีพิเศษในทางพุทธศาสนา ยังมีกิเลส ยังโง่ไปตามเวทนาเหล่านั้น
ดังนั้นจึงมีคำสอนให้เราไม่โง่ไปตามกำไร ขาดทุนและเสมอตัว แต่จงนำมาใช้ให้เกิดความฉลาด ให้เกิดปัญญาจากเวทนาทั้ง 3 ดังกล่าว ไม่โง่ไปตามอวิชา ความยึดมั่นถือมั่น หรือมีอวิชชาก็เกิดอุปาทาน ได้อย่างใจก็ดีใจ ไม่ได้อย่างใจก็เสียใจหรือโกรธ
เส้นทางที่ถูกต้องนั้นความรู้สึกจะต้องเกิดขึ้นตามกฏของธรรมชาติ เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทธรรม ให้เป็นเพียงความรู้สึกที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิตรู้แล้วไม่ยินดียินร้าย อย่าให้จิตยึดมั่นในเวทนา แต่ให้เป็นไปตามเหตุปัจจัย โดยหลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่เป็นวิทยาศาสตร์ดังในอริยสัจจ์สี่ และปฏิจจสมุปบาท
ความเกิด ความแก่ ความตายมีอยู่ตามธรรมชาติ ตามธรรมดาทั่วไปไม่เป็นทุกข์ จะเป็นทุกข์ก็ต่อเมือ่ไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นชาติ เป็นตัวกู ของกู เป็นความแก่ของเรา เป็นความตายของเรา เบญจขันธ์ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทานยึดมั่นถือมั่นว่าเราเป็น ว่าเป็นของเรานั้น เป็นตัวทุกข์นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น