หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การคิดและการเกิดความรู้เชิงกระบวนการ

จากทฤษฏีพัฒนาการตั้งของเปียอาเจ เคยเสนอขั้นตอนการพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดไว้ 4 ระดับคือ sensory motor pre operation concrete และ formal operation ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญ เมื่อกล่าวถึงการคิด ในแต่ละระดับยังเป็นข้อถกเถียงกันว่าในแต่ละระดับมีการคิดทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรมหรือไม่ หรือแม้แต่ว่ามีการคิดหรือไม่ จากนิยามง่ายที่สุดการคิดจะเกิดได้เมื่อมีการจำได้และการตัดสินใจอย่าใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคิดแบบอุปนัยและนิรนัย (inductive and deductive thinking) โดยทั่วไปการคิดแบบอุปนัยนั้นมีลักษณะที่ได้ข้อสรุปเป็นความรู้จากหลายๆสาเหตุหรือหลายเหตุผล ส่วนนิรนัยมาจากการคิดหาเหตุผลจากข้อสรุปไปอธิบายส่วนย่อยๆ ได้


ลอสันได้แยกแยะรูปแบบการคิดในแต่ละขั้นตอนการพัฒนาของเปียอาเจ โดยคิดให้ทุกขั้นตอนของการพัฒนามีรูปแบบการคิดแบบนิรนัยเชิงสมมุติฐาน และเรียก 2 ขั้นการพัฒนาการแรกของเปียอาเจว่า นิรนัยก่อนภาษา (pre-verbal deductive) และ 2 ขั้นการพัฒนาหลังว่า นิรนัยเชิงภาษา (verbal deductive thinking)

เช่นเดียวกับเปียอาเจ ไวก็อดกี (Vigotky) และ Luria ลอสัน กำหนดให้การคิดแบบนิรนัยเชิงสมมุติฐานเป็นแบบเดียวกับการคิดแบบผู้ใหญ่ (formal operation) เช่นความสามารถในการถามตัวเอง และสร้างสรรคำตอบที่เป็นไปได้ และพยากรณ์ หรือทำนายบนพื้นฐานของคำตอบแล้ว แยกจำแนกคำตอบ โดยอาศัยหลักฐานเท่าที่หาได้ เพื่อตรวจสอบหรือปฏิเสธคำตอบเหล่านั้น

อินเฮลเดอร์และเปียอาเจ ได้เคยสรุปไว้ว่าเด็กจะไม่สามารถทดสอบสมมุติฐานได้ถูกต้องจนกว่าที่จะพัฒนาการเข้าสู่กาคิดแบบผู้ใหญ่ เหมือนกบนักวิทยาศาสตร์ได้รับผลเฉลยที่มีตรรกะ เพียงเป็นไปได้และ ในกรณีนี้นั้น มีผลงานวิจัยจำนวนมากที่ยืนยันว่าเปียอาเจนั้นประเมินความสามารถของเด็กต่ำเกินไปในหลายๆทาง พบว่าเด็กอายุน้อยกว่าตามที่เปียอาเจและอินเฮลเดอร์ประมวลไว้ สามารถแสดงการคิดหาเหตุผลแบบผู้ใหญ่ได้ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง แม้ว่าเปียอาเจเห็นด้วยกับการหาเหตุผลนิรนัยเชิงสมมุติฐานว่าเป็นลักษณะที่สำคัญสำหรับการคิดแบบผู้ใหญ๋ ไม่จำกัดเฉพาะความรู้ความจริงที่ผ่านมา แต่สามารถที่จะสร้างสรรสมมุติฐาน อะไรที่เป็นไปได้มีความสำคัญกว่าความเป็นจริงขณะนั้น การพัฒนาการความคิดในช่วงการคิดแบบผู้ใหญ่นั้นดำเนินไปโดยลำพัง บนพื้นฐานของสัญลักษณ์ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงถึงในชีวิตจริง

ในเรื่องนี้ผู้เขียนเชื่อว่าไม่สามารถที่จะแยกการคิดแบบนิรนัยเชิงประสบการอออกจากการคิดแบบนิรนัยเชิงสมมุติฐานอย่างเบ็ดเสร็จ และคิดว่าน่าจะมาด้วยกันกับทุกๆคน แต่อาจแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งอย่างใดในแต่ละครั้ง หรือพร้อมกันทั้งสองอย่าง ซึ่งน่าเป็นไปได้ว่าถ้าทุกคนมีรูปแบบการคิดแบบนิรนัยเชิงสมมุติฐานตั้งแต่เกิดมาแล้ว ทุกๆคนก็จะยังคงมีรูปแบบการคิดนั้นอยู่ เมื่อก้าวไปสู่ขั้นพัฒนาการที่สูงขึ้น ดูเหมือนว่าจะขัดแย้งกับแนวคิดของเปียอาเจ ที่แสดงการหาเหตุผลแบบผู้ใญ่ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง

การพัฒนาความรู้เชิงดำเนินการ (procedural knowledge)เริ่มจากขั้นตอนแรกของการพัฒนา sensory motor และเพิ่มความซับซ้อนขณะที่ก้าวเข้าสู่ขั้นการพัฒนาการที่สูงขึ้น และขณะเดียวกันก็จะได้มาซึ่งความรู้เชิงประกาศ (declarative knowledge)ขึ้นอยู่กับความรู้เชิงดำเนินการ กล่าวได้ว่าความรู้ทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน ดูเหมือนว่าความรู้เชิงดำเนินการน่าจะมาก่อนที่จะได้ความรู้เชิงประกาศ ผู้เขียนเชื่อว่าตั้งcแต่ตอนแรกที่เด็กกำเนิดขึ้นมา เด็กทารกตามปกติต่างก็มีแรงขับตามธรรมชาติเพื่อการอยู่รอด และในขั้นตอนการพัฒนาการที่สูงขึ้นจะได้รับอิทธิพลของสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นรูปแบบการคิดจึงซับซ้อนกว่าการคิดในขั้นการพัฒนาสองขั้นแรก

จากนี้จะเห็นว่ากระบวนการในการคิดในรูปของการรวมกันระหว่างการคิดนิรนัยเชิงสมมุติฐานและอุปนัยเชิงประสบการณ์เพิ่มเติมจากการพัฒนาความสามารถในการหาเหตุผลแบบนิรนัย เด็กที่คิดได้แบบผู้ใหญ่สามารถคิดแบบอุปนัย ก็สามารถจะคิดสมมุติฐาน จากการสังเกต และการทดสอบอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตามเด็กๆก็จำเป็นต้องมีความสามารถที่จะควบคุมการทดลอง ซึ่งจำเป็นต้องคิดหาเหตุผลแบบนิรนัยเชิงประสบการณ์

จึงเห็นด้วยกับแนวคิดของลอสันที่ว่า ยิ่งอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาการที่สูงขึ้น จะยิ่งมีความเข้าใจแนวคิดทางทฤษฏี และเข้าใจการควบคุมจัดการทดลองได้ดี ในส่วนนี้เปียอาเจเรียกว่า reflect abstraction ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้เชิงดำเนินการหรือเชิงกระบวนวิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น