หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาคือการเรียนรู้ที่ถูกต้อง

อย่าพัฒนาให้เด็กมีความสุขกับตัณหา ตัวตัณหานั้นมีอยู่แล้วไม่ต้องไปพัฒนาอีก ตัณหานั้นพึ่งพิงอวิชชา เมื่อมีอวิชชาตัณหาก็ปรากฏออกมาตลอด ทฤษฏีการเรียนรู้ของเปียอาเจฝึกเด็กให้มีความสุขจากการเรียนรู้ จนเด็กเกิดความใฝ่รู้ จะชอบการเรียนรู้ เป็นความสุขจากการเรียนรู้ที่สนองความต้องการที่จะเรียนรู้ เมื่อประสบการณ์เข้ามาไม่ว่าดีหรือร้ายก็ได้ความสุขหมด เพราะดีใจที่ได้เรียนรู้ พบสิ่งที่ร้ายๆได้เรียนรู้มาก อาจมีความสุขมากกว่าพบสิ่งดีๆ


เศรษฐศาสตร์ที่ตีบตันเมื่อยึดหลักว่าพื้นฐานของเศรษฐกิจอยู่ที่การสนองความต้องการในการบริโภค เพราะไปถือว่าความต้องการของมนุษย์ไม่สิ้นสุด ไม่ได้มองว่าความต้องการของมนุษย์พัฒนาไปทางที่ดีงามได้ ในสังคมแข่งขันหาผลประโยชน์มุ่งเสพวัตถุ สภาพจิตมนุษย์ตลอดจนระบบการดำเนินชีวิตของคน จะเน้น การเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวัตถุ ในแง่ที่จะหามาเป็นของตัวเอง หรือจะเอาจะได้ทำให้มองเพื่อมนุษย์เป็นคู่แข่งและเป็นเหยื่อ ซึ่งมนุษย์จะเอาแต่ได้อย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการให้ด้วย การให้จึงเป็นหลักธรรมเบื้องต้น

ในการให้การศึกษา การคิดให้จิตของเราไปอยู่ที่คน เมื่อจิตอยู่ที่คนแล้วก็สนใจคน สนใจทุกข์ของเขา สนใจความต้องการของเขา ทำให้เราเข้าใจชีวิตของเขา มองเห็นสุขทุกข์ของเขา จะเกิดความเห็นอกเห็นใจมีความสงสารเกิดขึ้นเป็นด้านหนึ่งของการรักเพื่อนมนุษย์ จะมีกรุณาตามมา ต้องการให้เขาพ้นสภาพที่เป็นทุกข์ มีความต้องการนี้เกิดขึ้นเมื่อใด การได้สนองก็ทำให้เกิดความสุขขึ้นเมื่อนั้น นั่นก็คือคนต้องมีความสุขจากการให้ด้วย เมื่อมนุษย์พัฒนาคุณธรรมเพิ่มขึ้น ความสุขก็มีเพิ่มขึ้น

การศึกษาต้องไม่ทำให้มนุษย์กลายเป็นโลกที่ต่างไปจากโลกธรรมชาติ การหลงอยู่ในโลกของมนุษย์ มองไม่พ้นโลกนี้จึงมองไม่ถึงโลกของธรรมชาติ มนุษย์ตั้งกฏขึ้นมาเอง เข้าใจและมองแต่กฏของมนุษย์ เช่นกวาดถนนได้เดือนละ 3000 บาทเป็นกฏเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกัน เป็นจริงอยู่ด้วยการสมมุติ กฏทางสังคมศาสตร์ส่วนมากเป็นแบบนี้ กฏของมนุษย์ทุกเรื่องที่มีความหมายนั้น ต้องตั้งอยู่บนกฏธรรมชาติด้วย ถ้าเข้าถึงกฏธรรมชาติเราจะพัฒนาความต้องการพื้นฐานขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ถ้าเป็นไปตามกฏธรรมชาติแล้วต้องพิจารณาผลว่าทำงานแล้วได้ผลที่ควรจะเป็น กวาดถนนก็ได้ความสะอาดเรียบร้อย ไม่ใช่เอาแต่เงินเดือนแต่ไม่ทำงาน เป็นครูสอนเด็กเด็กก็ได้ความรู้ การสอน การกวาดถนนด้วยการฝืนใจทำจะมีทุกข์ ถ้าหลบหลีกงานผลงานก็ได้ไม่ดี เมื่อเราต้องการความสะอาด และกวาดถนนด้วยความสุข เต็มใจตั้งใจกวาด เห็นสกปรกก็หยิบไม้กวาดทำความสะอาด

โดยพื้นฐานการเรียนการสอนวิชาการต่างๆ มีความมุ่งหมายเพื่อใช้แก้ปัญญาของมนุษย์ และใช้สร้างสรรชีวิต สังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำอย่างไรให้เขาได้พัฒนาความต้องการ จากความต้องการผลตอบแทนตามกฏของมนุษย์ไปสู่การสร้างผลที่แท้จริงตามกฏธรรมชาติ โดยโยงเหตุผลตามกฏสมมุติของมนุษย์เข้ากับเหตุผลที่แท้จริงตามกฏธรรมชาติ มองทะลุกฏสมมุติของมนุษย์ลงไปถึงความเป็นจริงโดยไม่แปลกแยกจากธรรมชาติ

การสอนให้เข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นั้นสอดคล้องกับความสุขที่ได้เรียนรู้สามารถพัฒนาความต้องการในเชิงคุณภาพ พัฒนาความสุขที่ไม่ยึดติดกับกิเลส เป็นความสุขที่เกิดขึ้นได้กับทุกสถานะการจากการเรียนรู้ เป็นความสุขที่ไม่มีความต้องการที่จะสะนอง เช่นความสามารถที่จะปรุงแต่ความสุขขึ้นมาในตัวเอง ตรงข้ามกับมนุษย์ที่ปรุงแต่งความทุกข์ให้แก่ตัวเอง ปรุ่งแต่งความกังวล ความเครียด ความซึมเศร้า ทุกข์ทั้งหลายจึงเกิดจากการปรุงแต่งทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น