หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรรค์

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ(critical thinking) และการคิดสร้างสรรค์ (creative thinking or inventive thinking) เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา ขณะที่เราแก้ปัญหาหนึ่งๆ และต้องตัดสินใจ ไม่มากก็น้อยเราต้องคิดเชิงวิพากษ์ และไม่มากก็น้อยในการคิดเชิงสร้างสรรค์


คนทั่วไปอาจมองการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นเหมือนหลักปฐมภูมิในการหาค่าและตีค่า และการคิดสร้างสรรค์เป็นเหมือนหลักปฐมภูมิในการสร้างความคิดขึ้นใหม่ ทั้งสองชนิดของการคิดนี้เติมเต็มซึ่งกันและกัน และแม้แต่การแชร์ลักษณะต่างๆ ร่วมกัน การคิดที่ดีทั้งหมดเกี่ยวข้องกับทั้งการประเมินคุณภาพและการผลิตสร้างสิ่งใหม่

การคิดแบบมีวิจารณญาณสร้างแนวทางในการทดสอบยืนยัน การคิดแบบสร้างสรรค์ตรวจสอบความคิดที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ได้มาซึ่งความถูกต้องและอรรถประโยชน์ ความแตกต่างก็คือองศา (degree) และการเน้นย้ำ (emphasis)

โปรแกรมการเรียนในสถานศึกษาและการปฏิบัติควรจะได้สะท้อนถึงความเข้าใจ ซึ่งมีการคิดเชิงสร้างสรรค์อย่างมากมักซึ่งคือการคิดเชิงวิพากษ์อย่างมาก และในทางที่กลับกัน

Ennis (1985) กำหนดการคิดแบบวิจารณญาณ เป็นเหมือนการคิดอย่างมีเหตุผลและการคิดย้อนกลับ (reflective thinking) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การตัดสินใจที่จะเชื่อหรือกระทำ

การคิดจะมีเหตุผลเมื่อนักคิดมีแรงขับที่จะวิเคราะห์ข้อโต้แย้งอย่างระมัดระวัง มองหาหลักฐานที่ถูกต้องและเข้าถึงข้อสรุปที่เข้าใจได้ เป้าหมายของการสอนการคิดแบบมีวิจารณญานก็เพื่อพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีใจกว้างหรือใจเป็นธรรม (fair-mind) ตรงไปตรงมา ผู้มัดตัวเองเพื่อทำให้ชัดเจนและละเอียดถูกต้อง พัฒนาเกณฑ์ที่เหมาะสมในการพินิจพิจารณาและในการติดสินใจ

Halpern (1984) กล่าวว่าการคิดแบบสร้างสรรค์สามารถคิดให้เป็นความสร้างมารถที่สร้างการจัดหมู่ของความคิด (ideas)เพื่อให้บรรลุความต้องการ การคิดเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับความสามารถที่จะไปให้ไกลกว่าชีมมา (schema) ตามปกติที่เข้าถึงปัญหา การไปให้เหนือกว่าที่กำหนด เท่ากับการกำหนดกรอบของปัญหาใหม่เพื่อที่จะให้ปรากฏในรูปลักษณ์ใหม่

โดยลักษณะของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีความสามารถในการมองปัญหาจากกรอบอ้างอิงหนึ่งหรือซีมมา และแล้วโดยสำนึกจะเปลี่ยนไปกรอบอ้างอิงอื่นซึ่งจะให้แง่มุมใหม่อย่างสมบูรณ์ กระบวนการนี้ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งเขาได้มองปัญหาจากหลายแง่มุมที่แตต่างกัน

การสอนการคิดแบบสร้างสรรค์ต้องใช้กิจกรรมกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เห็นความคล้ายคลึงของเหตุการณ์และปริมาณ (entities) ที่ไม่เชื่อมโยงกันโดยทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น