หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มโนทัศน์และหลักการ

นิยามของมโนทัศน์ที่เสนอโดย Klaus meier (1985) มีประโยชน์มากสำหรับจุดประสงค์ในการสอน โดยเขามองมโนทัศน์เป็นเหมือนการสร้างขึ้นทางจิต โดยทั่วไปให้อยู่ในรูปสัญลักษณ์ (symbolized) โดยคำต่างๆ ในสังคม โดยเขาเขียนนิยามไว้ดังนี้


“มโนทัศน์หนึ่งๆ ประกอบด้วยการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับเอนติตี (entities)หนึ่งหรือมากกว่า นั่นคือ วัตถุ เหตุการณ์ ความคิด (idea) หรือกระบวนการที่ยอมให้แต่ละบุคคลแยกแยะความแตกต่างของเอนติตีพิเศษหรือกลุ่มชั้นของเอนติตี (class of entities)และยังสามารถให้ความสัมพันธ์กับเอนติตีอื่นหรือกลุ่มชั่นเอนติตีอื่น”

นักทฤษฎีบางคน (Kintsch,1974, 1979; Van Dijk, 1980) เชื่อว่าสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาถูกเก็บไว้ในรูปที่เป็นเรื่องเป็นโจทย์ที่จะต้องพิสูจน์ เป็นเหมือนโครงสร้างมโนทัศน์ที่มีการยืนยันความจริงที่มีความพอใจต่ำสุด คำว่า Doris และ น้ำ ต่างก็เป็นมโนทัศน์ไม่ใช่สารสนเทศที่สามารถตรวจสอบหาความจริงหรือหาความผิดพลาด แต่ถ้า Doris ป่วย และน้ำไหลลงตามเนินเขา เป็นเรื่องที่จะต้องพิสูจน์ เพราะว่าเราสามารถจะถามว่ามันถูกหรือผิด

สิ่งที่ต้องพิสูจน์ที่ประยุกต์ใช้กับหลายตัวอย่าง นั้นเป็นหลักการ การสอนคำศัพท์ (มโนทัศน์และกลุ่มคำ) ที่ยืนยันถึงคำศัพท์ที่สอน เป็นส่วนที่บูรณาการของคำสอนเนื้อหา เพราะว่าหลักการอธิบายความสัมพันธ์ และช่วยในการจัดระบบสารสนเทศในเนื้อหาวิชา ดังเช่น

หลักการที่เป็นเหตุและผล

ภายใต้เงื่อนไข ถ้า….แล้ว (if…then)

หลักการแสดงความเกี่ยวพันธ์กัน (correlation principles) หรือสัมพันธ์กันการกำหนดความสัมพันธ์ ซึ่งการเพิ่มขึ้นในสถานะหรือเหตุการณ์ที่สามารถทำนายความสัมพันธ์กับการเพิ่มหรือการลดในอีกสถานะหรือเหตุการณ์ ในหลักความสัมพันธ์จะไม่มีความสัมพันธ์แบบสาเหตุและผล (cause effect) ซึ่งสถานะหรือเหตุการณ์หนึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุของอีกสถานะหรือเหตุการณ์หนึ่ง

หลักการความน่าจะเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นความโน้มเอียงที่สถานะหรือเหตุการณ์จะปรากฏออกมาให้ทราบ ความสัมพันธ์ที่เน้นอยู่ระหว่างจำนวนของเหตุการณ์จริง และจำนวนเหตุการณ์ที่เป็นไปได้

หลักการสัจจพจน์ (Axiomatic principle) เป็นความจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไป อย่างน้อยที่สุดความจริงที่ยอมรับราวกับว่าเป็นความจริงที่ยอมรับกันทั่วไป แสดงถึงชนิดที่ใหญ่ที่สุดของหลักการ บางตัวอย่างของหลักการแบบสัจพจน์ เป็นรากฐานที่มาของกฏ และหลักเกณฑ์ (laws และ rules)

กฏหนึ่งสามารถจะเป็นการสังเกตทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเสมอ

กฏเกณฑ์เป็นหลักการอย่างหนึ่งที่กล่าวถึงพฤติกรรมที่คาดหวัง ที่คิดให้เป็นกฏอย่างหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น