การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Base Learning: PBL) เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพิ่มทักษะในการแก้ปัญหา สามารถเพิ่มทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และพัฒนาทักษะในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้มีการนำการเรียนการสอนดังกล่าวไปใช้อย่างกว้างขวาง ประมาณ 30 ปีมาแล้ว สำหรับประเทศไทยมหาวิทยาลัวที่นำไปใช้ในคณะแพทย์ศาสตร์มาหลายปี คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอบแก่นเป็นต้น
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจากการให้นิยามของ Boud, d. & Felletti G. ที่กล่าวว่า “การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นและเน้นที่กิจกรรมของนักศึกษา PBL ไม่ใช่วิธีการเรียนการแก้ปัญหาที่เพิ่มเข้าไปในหลักสูตรเดิมอย่างๆ ง่ายๆ แต่เป็นวิที่จัดหลักสูตรให้มีกิจกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้น โดยอาศัยปัญหาจริงที่เป็นจริงในการปฏิบัติของวิชาชีพนั้นเป็นตัวแกน หลักสูตร PBL จะเริ่มต้นด้วยการให้ปัญหาที่เป็นสถานะการณ์จริงแก่นักศึกษาก่อน แทนที่จะให้ความรู้ของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจริง เพื่อแก้ปัญหาโดยวิธีนี้ หลักสูตรและการสอนจะนำนักศึกษาไปสู่การแสวงหาวิชาความรู้และทักษะด้วยตนเอง โดยผ่านขั้นตอนการแก้ปัญหาที่จัดไว้ โดยอาศัยวัสดุการเรียนการสอน และครูที่กำหนดให้ตามหลักสูตร
จากนิยามจะเห็นว่าบทบาทของการเรียนการสอนเน้นที่ผู้เรียนไม่ใช่ผู้สอน
ขั้นตอนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
นักเรียนจะได้รับโจทย์ปัญหาซึ่งมักจะเป็นสถานะการณ์จริง ที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่กำลังจะสอน โดยครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกประมาณกลุ่มละ 8-10 คน โดยมีผู้ช่วย (Tutor) อยู่ 1 คนแล้วดำเนินขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ทำความกระจ่างในคำศัพท์และแนวคิด
2. ระบุปัญหา
3. วิเคราะห์ปัญหา และตั้งสมมุติฐาน
4. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
5. ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งวิทยากรภายนอก
6. สังเคราะห์และทดสอลข้อมูลใหม่พร้อมลงสรุปความรู้ทั่วไป
โดยสรุปเทคนิคระบบการศึกษาแลบPBL ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือ
1. ยึดถือนักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
2. เรียนโดยแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มย่อย (small group tutorial)
3. ใช้ปัญหาจริงเป็นตัวกระตุ้นการแก้ปัญหา (problem-solving based) และเป็นจุดเริ่มต้นในการแสวงหาความรู้
4. มีการบูรณาการของเนื้อหาวิชาต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น