จากข้อเขียนของ ดร. ชัยอนันต์ สมุทรวณิช ที่จัดแบ่งคนออกตามการรู้และไม่รู้ไว้ 4 ประเภทคือ ไม่รู้ว่าไม่รู้ ไม่รู้ว่ารู้ รู้ว่าไม่รู้ และรู้ว่ารู้ ในของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยแล้วคนส่วนใหญ่จะอยู่ในพวก ไม่รู้ว่าไม่รู้และรู้ว่าไม่รู้ ตามความคิดของผู้เขียน สำหรับผู้ที่อยู่ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ก็จะต้องทำให้ที่ไม่รู้ว่าไม่รู้ และรู้ว่าไม่รู้นั้น ให้กลายเป็นอยากรู้และให้อยากค้นคว้าวิจัย เพื่อที่จะให้ได้เป็นผู้ที่ รู้ว่ารู้
ในการที่ใครสักคนจะเริ่มคิดที่จะทำวิจัยในเรื่องหนึ่งเรื่องใดนั้น สิ่งแรกก็จะต้องรู้ว่า รู้อะไรบ้างแล้ว ซึ่งถ้ามีความสนใจเรื่องนั้นอยู่แล้ว มีประสบการณ์บ้างแล้วก็จะหาสิ่งที่ว่า รู้อะไรได้ไม่ยากนักเพราะรู้แหล่งความรู้ในเรื่องนั้นที่จะไปเอามาอ้างอิงศึกษาต่อยอดต่อไป ก็จะรู้ว่ามีใครทำอะไรจากเรื่องที่จะทำวิจัยอะไรบ้างส่วนใหญ่ก็ได้จากการอ่านผลงาน ที่เขียนเป็นรายงานวิจัย หรือจากบทความปริทรรศน์ นั่นก็คือพยายามหาว่ายังไม่รู้อะไรจากการอ่านจากนี้ก็นำไปสู่ส่วนที่ว่า อะไรที่อยากรู้และยังไม่มีใครที่จะตอบคำถามได้ ก็นำมาสู่คำถามวิจัยที่จะต้องหาคำตอบอันเป็นเอ้าพุตของงานวิจัย และน่ำมาซึ่งการหาวิธีการที่จะให้ได้คำตอบ ต้องใช้เครื่องมืออะไร ที่มีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือ ที่จะส่งผลให้ได้คำตอบที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ
เมื่อได้คำตอบจากการศึกษาวิจัย ก็จะอยู่ในภาวะที่เรียกว่า รู้ว่ารู้ ก็จะนำไปสู่การนำเรื่องที่รู้ขึ้นมานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตามที่กำหนดไว้ในการศึกษาวิจัย หรือจะขยายผลนำไปใช้ในสถานะการณ์ต่างๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จะเป็นไปได้สูงหากมีการกำหนดไว้ในแผนการวิจัยตั้งแต่ต้น อย่างไรก็ตามก่อนนำไปใช้จริงก็น่าจะมีการตรวจสอบความถูกต้องว่าสิ่งที่ค้นพบอันเป็นคำตอบนั้นเรารู้จริงหรือเปล่า ก็ต้องมีการตรวจสอบ โดยการไปนำเสนอ นำไปเขียนเป็นบทความ เพื่อให้เห็นถึงจุดบกพร่องที่จะแก้ไขปรับปรุงกันต่อไปเพื่อให้สิ่งที่รู้ เป็นความรู้ที่ดีขึ้น เพราะการวิจัยนั้นใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีปรัชญาว่าไม่มีความรู้ใดที่สมบูรณ์ ความรู้สามารถที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น จากความคิดการกระทำของนักวิจัยอื่นๆ มีหลักฐานยืนยันจากการศึกษาว่าดีกว่า ก็พร้อมที่จะยอมรับความเห็นความรู้ที่ดีกว่านั้นมาใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น