ภาวะโลกร้อนที่ว่านี้ เป็นภาวะที่เข้าใจกันว่าเกิดจากแกสเรือนกระจก (greenhouse gas) ที่เพิ่มขึ้นในบรรยากาศเป็นจำนวนมากนับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ผลของภาวะโลกร้อนที่เห็นเป็นนามธรรมและรูปธรรม ได้แก่การที่ไฟป่าเกิดขึ้นได้ง่ายดังที่เกิดในอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และแม้แต่ในอินโดนีเซียเพื่อนบ้านของเรา นอกจากนี้ยังมีภัยพิบัติจากสภาพอากาศวิปริต แปรปรวน น้ำถ่วมมีความรุนแรงมากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทยจะเห็นว่ามีความรุนแรง และบ่อยมากขึ้น ซึ่งอาจตามด้วยแผ่นดินถล่ม การกัดเสาะของชายฝั่งทะเลในบริเวณกว้างมากขึ้น อันเนื่องมากจากมีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น และปรากฏการณ์แอนนิโญ ลานิญา ที่ผกผัน ทำให้ระบบนิเวศเกิดการเปลี่ยนแปลงสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะฟันธงให้แน่ชัดลงไปไม่ได้ในบางเรื่อง เช่นกระแสน้ำอุ่นกัล์ฟ (Gulf stream) ที่ไหลจากย่านแคริบเบียนขึ้นไปทางแอตแลนติกเหนือตามปกติ แต่กลับไหลลงไปทางอัฟริกา ถ้าหากโลกร้อนขึ้นอีก ก็มีทางเป็นไปได้ว่ายุโรปเหนือจะกลายเป็นดินแดนน้ำแข็ง
เราจะหยุดยั้งไม่ให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศได้อย่างไร ในขณะที่มนุษย์มีความต้องการใช้พลงงานเพิ่มขึ้นทุกที ในกรณีการปล่อยแกสคาร์บอนไดออกไซด์ ประเทศยักษ์ใหญ่ ทั้งยุโรป อเมริกา จีน ญี่ปุ่น เป็นตัวการในการปล่อยแกสนี้ และมีบางประเทศไม่ยอมเซ็นต์สัญญาโตเกียวที่จะจำกัดแกสคาร์บอนไดออกไซด์ นับว่าเป็นการเอาเปรียบประเทศอื่น หรือสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยบนความยากลำบากของผู้อื่น ประชาคมโลกน่าจะมีความเห็นพ้องที่จะต้องให้ประเทศที่ปล่อยแกสนี้มากเท่าใดต้องจ่ายในรูปต่างๆ ให้กับประเทศที่ได้รับผลกระทบ หรือต้องมีมาตรการจ่ายค่าชดเชยในรูปแบบต่างๆ ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศอุตสหกรรมหนัก มีส่วนในการปล่อยแกสนี้ไม่ถึง 1 เปอร์เซนต์ แต่ก็ได้รับผลกระทบมากมาย เช่นกันทางออกทางหนึ่งที่ประเทศน่าจะทำได้ก็คือ ลดการบุกรุกทำลายป่า เพิ่มพื้นที่ป่า ปลูกต้นไม้มากขึ้นในชุมชนเมือง เพื่อให้ต้นไม้ได้ช่วยดูดซับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ได้บ้างก่อนที่จะไปสะสมในชั้นบรรยากาศ ประเทศที่ประสบผลสำเร็จสูงมากในการรักษาพื้นที่ป่าไม้ไว้ได้มากคือประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีพื้นที่ป่ามากกว่า 70 เปอร์เซนต์ ทั้งๆ ที่พื้นที่น้อยกว่าประเทศไทย ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะช่วยลดความสูญเสียจากน้ำท่วม และแผ่นดินถล่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น