นักศึกษาเมื่อจบการศึกษาแล้วควรจะมีทักษะชีวิต (life skill) ในการเรียนการสอนควรจะได้สอดแทรกทักษะเหล่านี้ ซึ่งเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้วมหาชัยสารประจำวันพุธที่ 23 ธันวาคม 2541 ได้ให้รายละเอียดการศึกษาขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้พบว่าทักษะชีวิตที่ควรปลูกฝังให้แก่เยาวชน 12 ประการดังต่อไปนี้
1. ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ (critical thinking) ความสามารถที่จะวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลข่าวสาร ปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ รอบตัว
2. ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) ความสามารถที่จะคิดออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่ยึดติดอยู่ในกรอบ
3. ความตระหนักรู้ในตน (Self awareness) ความสามารถในการค้นหา และเข้าใจจุดดีจุดด้อยของตนเอง และความแตกต่างจากบุคคลอื่น
4. ความเห็นใจผู้อื่น (Empathy) ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึก และเห็นอกเห็นใจบุคคลที่แตกต่างจากเรา
5. ความภูมิใจในตนเอง (self esteem) ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ค้นพบและภูมิใจในความสามารถด้านต่างๆ ของตน โดยไม่มุ่งความสนใจแต่เรื่องความโก้เก๋ รูปร่างหน้าตาหรือความสามารถของเพศ
6. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนของสังคม และมีส่วนรับผิดชอบในความเจริญและความเสื่อมของสังคม
7,8 การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร (Interpersonal relationship and Communication) ความสามารถในการใช้คำพูด และท่าทางเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของตน และรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของอีกฝ่าย
9,10 การตัดสินใจและแก้ไขปัญหา (Decision making and problem solving) ความสามารถในการรับรู้ปัญหา สาเหตุ หาทางเลือกวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของทางเลือก ประเมินทางเลือกตัดสินใจเลือก และแก้ปัญหาอย่างถูกต้องเหมาะสม
11,12 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด (Coping with emotion and stress) ความสามารถในการประเมินและรู้ทันอารมณ์หรือความเครียด ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคน เลือกวิธีป้องกันการเกิดอารมณ์หรือความเคลียดที่เหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น